Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4321
Title: Development of Active Online Project-Based Learning Model Integrated with Design Thinking to Enhance Creative Problem-Solving Abilities and Creative Products of Undergraduate Students
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกที่บูรณาการร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Authors: Pattaraporn CHALEOYCHANYA
ภัทรภร เฉลยจรรยา
Thapanee  Thammetar
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา
Silpakorn University
Thapanee  Thammetar
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา
kobthapanee@gmail.com
kobthapanee@gmail.com
Keywords: การเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์
การเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
ความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
ผลงานสร้างสรรค์
ONLINE PROJECT-BASED LEARNING
ACTIVE LEARNING
DESIGN THINKING
CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITIES
CREATIVE PRODUCTS
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to develop an active online project-based learning model integrated with Design Thinking (DT) concept to enhance creative problem-solving abilities and creative products of second-year undergraduate students at Silpakorn University enrolled in the Entrepreneurship Course, SU402 Innovation and Design in the General Education Program in the first semester of the academic year 2022. There were 37 students who enrolled in SU402 Innovation and Design, Section 2009. The simple group was selected by using a simple random sampling method. The tools used were:  1) a questionnaire on the current conditions and needs of an active online project-based learning model 2) an active online learning model 3) learning plans 4) an online class and online teaching tools 5) an individual creative problem-solving assessment form 6) a group creative problem-solving assessment form and criteria 7) a creative work evaluation form and criteria 8) a satisfaction survey on the active online learning model. The data were analyzed by Priority Needs Index (PNI), percentage, mean, standard deviation (SD), and t-test. The results of the research were as follows: 1) the current condition and needs of an active online project-based learning model presented with the highest level of instructors’ needs were at the top of the ranking (PNI = 0.11); activities helped students improve creative problem solving (X = 4.61, S.D. = 0.56), and Canva was an application that was needed for students to create presentation materials (29.86%) 2. the “IMBCT Model” was created as an active online project-based learning model with seven components consisting of 1) learning objectives 2) learner roles 3) instructor roles 4) content 5) teaching strategies 6) teaching and learning environment, and 7) teaching and learning support materials, moreover, there are three stages of the implementation, 1) preparation 2) an active online project-based learning process: (2.1) identifying problems, understanding needs (2.2) manifest problems based on demands (2.3) brainstorming to innovation (2.4) creativity based on concepts (2.5) try out, improvement, and creative-work acknowledgment, and 3) assessment 3. the result of the use of the active online project-based learning model showed that individual creative problem-solving abilities were significantly higher than those before using the active online project-based learning model at the significant level of .05 and cooperative creative work is at a predetermined level; the mean score is at a good level (X = 40.77, S.D. = 2.40)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกที่บูรณาการร่วมกับกระบวนคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาความเป็นผู้ประกอบการ รายวิชา SU402 นวัตกรรมและการออกแบบ ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างแบบง่าย จากนักศึกษาที่มีความสนใจในการเลือกลงทะเบียนเรียนกลุ่ม 2009 จำนวน 37 คน ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพและความต้องการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกฯ 2) รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกฯ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) ห้องเรียนและสื่อการสอนออนไลน์ 5) แบบประเมินความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์รายบุคคล 6) แบบประเมินความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์แบบกลุ่มและเกณฑ์การประเมิน 7) แบบวัดผลงานสร้างสรรค์และเกณฑ์การประเมิน และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงงรุกฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความต้องการจำเป็น  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกฯ พบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด อันดับ 1 ค่า PNI = 0.11 คือ การจัดกิจกรรมที่เน้นการฝึกการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน (X = 4.61, S.D. = 0.56) นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการแอปพลิเคชันที่ใช้จัดทำสื่อเพื่อนำเสนอผลงาน คือ Canva ร้อยละ 29.86 2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกฯ ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า “IMBCT Model” พบว่า องค์ประกอบ มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 2) บทบาทผู้เรียน 3) บทบาทผู้สอน 4) เนื้อหา 5) กลยุทธ์การสอน 6) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 7) สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมการก่อนการเรียนรู้ 2) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกฯ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (2.1) สืบค้นปัญหา เข้าใจความต้องการ  (2.2) ประจักษ์ปัญหา ตามความต้องการ  (2.3) ระดมแนวคิด สรรหาสิ่งใหม่  (2.4) สร้างสรรค์ผลงาน ตามแนวคิด  (2.5) ทดสอบ พัฒนา และยอมรับผลงานที่สร้างสรรค์ 3) การประเมินผล 3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์เชิงรุกฯ พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนความสามารถการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์รายบุคคลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และคะแนนผลงานสร้างสรรค์ของผู้เรียนแบบกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (X = 40.77, S.D. = 2.40)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4321
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61257902.pdf9.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.