Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4327
Title: THE DEVELOPMENT OF GRADE 6 STUDENTS’ ANALYTICAL THINKING  ABILITY ON SURROUNDING GEOGRAPHY USING PHENOMENON-BASED LEARNING TOGETHER WITH FLIPPED CLASSROOM CONCEPT
การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ภูมิศาสตร์รอบตัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
Authors: Chayanat NAWUT
ชญาน์นัทช์ ณะวุฒิ
Kanlaya Tienwong
กัลยา เทียนวงศ์
Silpakorn University
Kanlaya Tienwong
กัลยา เทียนวงศ์
TIENWONG_K@SU.AC.TH
TIENWONG_K@SU.AC.TH
Keywords: การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐาน แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน การสอนภูมิศาสตร์ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
Phenomenon-Based Learning/ Flipped Classroom Concept/ Geography Teaching/ Analytical Thinking Ability
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) to compare the analytical thinking ability of grad 6 students on the surrounding geography before and after using phenomenon-based learning with the flipped classroom concept; 2) to compare grad 6 students’ learning achievements about the surrounding geography before and after using phenomenon-based learning with flipped classroom concept; and 3) to study primary 6 students’ attitudes toward phenomenon-based learning with flipped classroom concept. The sample group consisted of 28 grad 6 students of Wat Sanphet School (Thaweewittayakom) in the second semester of the academic year 2022 which were obtained by simple random sampling (using the classroom as a random unit). The research instruments consisted of 1) 3 learning plans with the use of phenomenon-based learning with flipped classroom concept; 2)Analytical thinking ability test; 3)A learning achievement test on the surrounding geography; and 4)A questionnaire eliciting primary 6 students’attitudes toward phenomenon-based learning with flipped classroom concept. Mean, Standard deviation and T-test dependent were used as statistical tools for data analysis. The research findings show as follows: 1) The analytical thinking ability of grad 6 students after learning by using phenomenon-based learning with the flipped classroom concept (M = 17.75, SD = 2.15) was significantly higher than before (M = 10.82, SD = 2.00) at the .05 level. 2) The learning environment of grad 6 students after learning by using phenomenon-based learning with the flipped classroom concept (M = 21.82, SD = 3.34) was significantly higher than before (M = 12.82, SD = 2.71) at the .05 level. 3) The overall attitudes of grad 6 students toward phenomenon-based learning and the flipped classroom concept were at a high level. (M = 4.28, SD = 0.66) Students agreed with learning activities, learning benefits, and learning atmosphere.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ภูมิศาสตร์รอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์รอบตัว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนจัดการเรียนรู้รายหน่วย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์รอบตัว และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียน (M = 17.75, SD = 2.15) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 10.82, SD = 2.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (M = 21.82, SD = 3.34) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 12.82, SD = 2.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.28, SD = 0.66) นักเรียนเห็นด้วยในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ และด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ตามลำดับ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4327
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61262308.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.