Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4331
Title: | THE DEVELOPMENT OF CREATIVE SCIENTIFIC INNOVATION ABILITY
AND ENVIRONMENT LITERACY BY USING PROJECT BASED LEARNING
OF GRADE 12 STUDENTS การพัฒนาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และการรู้สิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
Authors: | Panida SAENVIANGCHAN ปนิดา แสนเวียงจันทร์ Niwat Boonsom นิวัฒน์ บุญสม Silpakorn University Niwat Boonsom นิวัฒน์ บุญสม BOONSOM_N2@SU.AC.TH BOONSOM_N2@SU.AC.TH |
Keywords: | ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์/การรู้สิ่งแวดล้อม/โครงงานเป็นฐาน CREATIVE INNOVATION SCIENTIFIC/ ENVIRONMENT LITERACY/ PROJECT-BASED LEARNING |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this research were to : 1) study creative scientific innovation ability after project based learning 2) study environment literacy after project based learning and 3) study the students’ opinions towards project based learning. A research sample of 39 students came form Mathayomsuksa 6/1 class at Kongthongwitaya school on 2nd semester of academic year 2021. Research instruments included 1) learning management plan project based learning, 2) creative scientific innovation ability assessment form ,3) environment knowledge test 4) environment attitude assessment form 5) environment behavior assessment form and 6) a questionnaire on students’ opinions towards project based learning. Data were analyzed by using statistics technique of arithmetic mean, standard deviation, dependent t-test and content analysis.
The research summary as follows,
1.The students under project based learning have good level creative scientific innovation ability.
2.The students under project based learning have level environment literacy as follows,
2.1environment knowledge have higher than before study at the 0.05 significant level.
2.2environment attitudehave good level.
3.The students’ opinions towards project based learning were at good level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) ศึกษาการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 39 คนที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนคงทองวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 4) แบบประเมินเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม 5) แบบประเมินพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และ 6) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัย 1. ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับดี 2. การรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน พิจารณารายด้าน ดังนี้ 2.1 ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 เจตคติด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก 2.3 พฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับดีมาก 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4331 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61263306.pdf | 4.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.