Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4335
Title: The Development of German Writing Abilityby using Task-based Learning together with Cooperative Learning for Mathayomsuksa 5
การพัฒนาความสามารถการเขียนภาษาเยอรมัน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Manita YUENYONG
มานิตา ยืนยง
Atikamas Makjui
อธิกมาส มากจุ้ย
Silpakorn University
Atikamas Makjui
อธิกมาส มากจุ้ย
suloo62@hotmail.com
suloo62@hotmail.com
Keywords: การเขียนภาษาเยอรมัน
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
German Writing Ability
Task-based Learning
Cooperative Learning
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this Research were 1) to compare German writing ability before and after using Task-based Learning Management with Cooperative Learning Management 2) to study satisfaction of learning German writing through Task-based Learning Management with Cooperative Learning Management. The population were 15 Mathayomsuksa 5 students at Patumwan Demonstration School enrolled in the foreign language (German) in the second semester of academic year 2022, obtained using purposive sampling. The research instruments included 1) five lesson plans based on Task-based Learning Management with Cooperative Learning Management. 2) German writing ability assessment form 3) rating scale questionnaire of satisfaction. The data were analyzed by mean (M), standard deviation (SD) The results revealed as follow: 1) German writing ability after using Task-based Learning Management with Cooperative Learning Management higher than before using at .05 level of significant. 2) Student’s satisfaction toward Task-based Learning Management with Cooperative Learning Management was at a high level. (M = 4.18, SD = 0.64) Considering each aspect of the studies found that the students strongly agree with all aspects ordered from the highest to the least, learning activity management, benefits from learning activity, measurement and evaluation and learning environment.
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนภาษาเยอรมันของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนการจัดการเรียนการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือว่าอยู่ในระดับใด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ (ภาษาเยอรมัน) จำนวน 15  คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาเยอรมัน)  จำนวน 5 แผน 2) แบบประเมินความสามารถการเขียนภาษาเยอรมัน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent T- Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถการเขียนภาษาเยอรมันหลังการการจัดการเรียนการจัดการเรียนการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (M= 4.18, SD = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4335
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61263322.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.