Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4350
Title: RISK MANAGEMENT OF U-THONG SCHOOL UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI
การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
Authors: Dusit SAWANGSRI
ดุษิต สว่างศรี
Prasert Intarak
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
Silpakorn University
Prasert Intarak
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
p_intarak@yahoo.co.th
p_intarak@yahoo.co.th
Keywords: การบริหารความเสี่ยง
RISK MANAGEMENT
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to determine: 1) the risk management of U-Thong School under The Secondary Educational Service Area Office Suphan Buri and 2) the guidelines for developing the risk management of U-Thong School under The Secondary Educational Service Area Office Suphan Buri. The sample of this study was personnel of U-Thong School. The respondents from U-Thong School were; a school director, deputy school directors, heads of the department, and teachers, with a total of 108 respondents. The instrument for collecting the data was a questionnaire about the risk management of U-Thong School. The statistical analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis. The findings of study were as follows: 1. The risk management of U-Thong School under The Secondary Educational Service Area Office Suphan Buri, as a whole and each aspect were at a high level. They were put in descending order based on its average score, as follows; the risk response, the risk identification, the reporting and the monitoring, the objective setting, and the risk assessment. 2. The guidelines for developing the risk management of U-Thong School under The Secondary Educational Service Area Office Suphan Buri were as follows; 1) the school should set clear objectives of the risk management and inform the objectives to school personnel clearly, 2) the school should analyze the risk covering both internal and external factors that may prevent the operation to achieving its objectives, 3) the school should set the priority risks clearly from most to least, 4) the school should assign the risk response aiming to the objectives and inform personnel, and 5) the school should monitor, evaluate and report the risk management continuously to develop the risk management efficiently.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ได้แก่ ฝ่ายบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครู จำนวนทั้งสิ้น 108 คน ทั้งนี้ไม่รวมผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ตามคู่มือการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง/เหตุการณ์ความเสี่ยง การรายงานและติดตามผล การกำหนดวัตถุประสงค์ และการประเมินความเสี่ยง ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สถานศึกษาควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงที่มีความชัดเจน และควรแจ้งวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงให้บุคลากรทุกคนได้ทราบและเข้าใจตรงกัน 2) สถานศึกษาควรวิเคราะห์ความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 3) สถานศึกษาควรจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงให้มีความชัดเจน และดำเนินการจัดการความเสี่ยงตามระดับความรุนแรงจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด 4) สถานศึกษาควรกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงที่มีความชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ และควรชี้แจงมาตรการให้บุคลากรทุกคนได้ทราบและปฏิบัติ และ 5) สถานศึกษาควรติดตามผล ประเมินผล และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4350
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620620041.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.