Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/437
Title: การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITY PACKAGE BASED ON COMMUNITY LEARNING (MANGROVE FOREST) FOR ENHANCE SCIENCE SKILL OF SIXTH GRADE STUDENTS.
Authors: ช่างทอง, ปิยะวรรณ
CHANGTHONG, PIYAWAN
Keywords: ชุดกิจกรรม
แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน)
ทักษะทางวิทยาศาสตร์
LEARNING ACTIVITY PACKAGE
COMMUNITY LEARNING(MANGROVE FOREST)
SCIENCE SKILL
Issue Date: 7-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) 4) ประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน(ประชาธิปถัมภ์) จำนวน 39 คน ปีการศึกษา 2558 ใช้เวลา 12 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบสังเกตทักษะทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้(ป่าชายเลน) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย(X ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และหาค่า t (t – test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ ครู และนักเรียน พบว่า ควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและค้นหาความรู้ด้วยตนเอง มีการทำงานเป็นกระบวนการกลุ่ม และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 1) ชื่อกิจกรรม 2) คำนำ 3) คำชี้แจงสำหรับครู 4) คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 5) สาระสำคัญ/จุดประสงค์ 6) ใบความรู้/ใบกิจกรรม 7) แบบทดสอบ 8) แผนการจัดการเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพ 81.46/82.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนมีความสนใจต่อชุดกิจกรรม กระตือรือร้นต่อการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม 4. ผลการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนรู้เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีทักษะทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง มีจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดีมาก และมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก The purposes of this research were to 1) study the fundamental data to the development of learning activity package based on community learning (Mangrove forest) for enhance science skill of sixth grade students. 2) develop and determine for learning activity package based on community learning (Mangrove forest) with standard criterion of to 80/80 3) implement of the learning activity package 4) evaluate and improve for learning activity package based on community learning(Mangrove forest). The sample consisted of 39 sixth grade of BanHuaHin Municipality School during the first semester of academic year 2015. The duration of the implementation coverd 12 hours. The research design was one group pretest-posttest design. The research instruments are learning activity package based on community learning (Mangrove forest), lesson plan, learning outcome, science skill test, scientific mind questionaires and questionaires about opinion on learning management by using community learning(Mangrove forest). The collected data were analyzed by percentage(%), mean(x ̅), standard deviation (S.D.), dependent t – test and content analysis. The research findings were as follows : 1. The fundamental data with getting form experts, teachers and students for developing the learning activity package were they should students to practice and search for self-knowledge a working group process and can put that knowledge to use in everyday life. 2. There were learning activity package as follow 1) the title of learning activity packages 2) introduction 3) explanation for teachers 4) explanation for students 5) objectives 6) worksheets 7) learning achievement test 8) lesson plan. The efficiency of learning activity packages was 81.46/82.59 3. The assessment and development of learning activity package, the results in using learning activity package found that most students are interested. Eager to learn and practice groups. 4. The results after using activity packages were sixth grade students had learning outcome about the existence of plants were significantly higher than before the learning at .01, student had science skill at the high level, students had more science psychology at the excellent level, student opinions toward learning activity package was at excellent level.
Description: 55253309 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- ปิยะวรรณ ช่างทอง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/437
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55253309 ปิยะวรรณ ช่างทอง.pdf10.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.