Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4395
Title: ISAN FEMALE PROTAGONIST OF ROMANTIC NOVEL IN 1993-2020
ตัวละครเอกหญิงอีสานในนวนิยายแนวพาฝัน พ.ศ.2536-2563
Authors: Tosawat PICHAIAKARAPACH
ทศวรรษ พิชัยอัคราพัชร
Sirichaya Corngreat
สิริชญา คอนกรีต
Silpakorn University
Sirichaya Corngreat
สิริชญา คอนกรีต
CORNGREAT_S@SU.AC.TH
CORNGREAT_S@SU.AC.TH
Keywords: ตัวละครเอกหญิงอีสาน
นวนิยายแนวพาฝัน
วรรณกรรมกับสังคม
Isan female protagonists
romantic novels
literature and society
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The thesis titled “Isan Female Protagonists in Romantic Novels during 1993-2020” aims to analyze the presentation of Isan female protagonists in romantic novels during 1993-2020 and to analyze the social factors affect the presentation of Isan female protagonists in romantic novels during 1993-2020. The 5 romantic novels were selected; Plara Song Kruaeng (1993), Rachini Mor Lam (2005), Sao Noi Roi Lan (2006), Nong Nang Banna Gab Num Muaeng Fah Amorn (2015), and Ai Koi Hak Chao (2020). The results found that most of the romantic novels during 1993-2020 present the Isan female protagonists as the representatives of the local society which is the opposite pair of the male protagonists who represent the capitalism society. The novels exhibit the development of the Isan female protagonists visualizing the local society through the role of victim. The female characters have proved themselves by expressing their true self through Isan culture until they have been accepted and created the love story between local women and city men. The novels dissolve the differences and leverage the Isan female protagonists to the same level of city people. Furthermore, the novels also visualize the love that the หะstriplings have for their hometown. When the economic crisis occurred, the female protagonists criticized the capitalism and showed their strengths by appraising the value of local society and returning to develop their hometown. Furthermore, the research found that the Isan female protagonists are always being suppressed and forced to flounder the difficult lives in the city by expressing the identities of Esan culture such as food, music, and Mor Lam which are their sole cultural capital. However, the trend of Isan female protagonists’ character has been changing from traditional character to be more joyful showing that the society has already accepted people from Isan more than before. However, localism has been more attentive since economic crisis in 1997. Isan music has been used as cultural capital after Tom Yum Kung Crisis. The novels presented the superior of Isan performance which has been developed and helped support the economic of capitalism. Therefore, it can be concluded that the Isan female protagonists in the romantic novels are created from the social influenced factors through the gradual acceptance of Isan identity and the adaptation of Isan culture to be more universal.
วิทยานิพนธ์หัวข้อ “ตัวละครเอกหญิงอีสานในนวนิยายแนวพาฝัน พ.ศ.2536-2563”  ฉบับนี้วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอตัวละครเอกหญิงอีสานในนวนิยายแนวพาฝัน ช่วงพ.ศ. 2536 – 2563 และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการนำเสนอตัวละครเอกหญิงอีสานในนวนิยายแนวพาฝัน ช่วง พ.ศ.2536-2563 โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 เรื่อง  ได้แก่ เรื่อง ปลาร้าทรงเครื่อง (พ.ศ. 2536) เรื่อง ราชินีหมอลำ (พ.ศ. 2548) เรื่อง สาวน้อยร้อยล้าน (พ.ศ. 2549) เรื่อง น้องนางบ้านนากับหนุ่มฟ้าเมืองอมร (พ.ศ. 2558) และเรื่อง อ้ายข่อยฮักเจ้า (พ.ศ. 2563)  ผลการศึกษาพบว่า การนำเสนอตัวละครเอกหญิงอีสานในนวนิยายแนวพาฝัน ช่วงพ.ศ.2536-2563 เกือบทุกเรื่องประกอบสร้างนางเอกในฐานะตัวแทนท้องถิ่นเป็นคู่ตรงข้ามกับพระเอกที่เป็นตัวแทนของสังคมเมืองทุนนิยม แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการตัวละครเอกหญิงอีสานที่สะท้อนภาพบทบาทท้องถิ่น จากการเป็นผู้ถูกกระทำ ตัวละครได้พิสูจน์ตัวเองโดยนำเสนอตัวตนผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานจนได้รับการยอมรับกลายเป็นความรักระหว่างคนท้องถิ่นกับคนเมืองหลวง นวนิยายได้สลายความแตกต่างและยกระดับตัวละครเอกหญิงอีสานให้ทัดเทียมคนเมือง อีกทั้งปรากฏภาพความรักของหนุ่มสาวต่อถิ่นฐานบ้านเกิด เมื่อเกิดวิกฤติปัญหาเศรษฐกิจ ตัวละครเอกหญิงได้วิพากษ์ระบบทุนนิยม และแสดงภาพความแข็งแกร่งของท้องถิ่น ตัวละครเห็นคุณค่าและกลับไปพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิด นอกจากนี้ พบว่า ตัวละครเอกหญิงอีสานต้องต่อสู้ในเมืองหลวง แสดงให้เห็นถึงการเดินทางของคนอีสานที่ต้องเผชิญการถูกกดทับ รวมไปถึงการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในเมืองหลวงผ่านการใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอีสาน ได้แก่ อาหาร ดนตรี หมอลำ  มาเป็นทุนวัฒนธรรมของอีสาน หากแต่มุมมองของนวนิยายพาฝันได้พยายามแสดงบทบาทของตัวละครเอกหญิงอีสานกำลังเปลี่ยนไปจากเดิมไปสู่การสร้างสีสันความเป็นภาคอีสานผ่านตัวละครที่คนสังคมเมืองยอมรับในความเป็นอีสานในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 กระแสท้องถิ่นนิยมได้รับความสนใจมากขึ้น ปรากฏให้เห็นถึงการนำดนตรีอีสานมาเป็นทุนหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง นวนิยายได้นำเสนอให้เห็นความยิ่งใหญ่ของศิลปะการแสดงอีสานที่ถูกพัฒนาต่อยอดและได้ช่วยพยุงเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยม ดังนั้น ตัวละครเอกหญิงอีสานในนวนิยายแนวพาฝันถูกประกอบสร้างจากปัจจัยอิทธิพลทางสังคมที่มีพัฒนาการการยอมรับในความเป็นอีสานและการปรับประยุกต์อีสานสู่สากล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4395
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61208305.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.