Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4399
Title: | The assessment and monitoring system development for life and sex offenders on felony charges in prisons located in Bangkok Metropolitan region : a retrospective study. การพัฒนาระบบการประเมินและติดตามผู้ต้องขังที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ โดยศึกษาย้อนหลังในกลุ่มเรือนจำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Authors: | Siriprabha KAEWSRINUAL สิริประภา แก้วศรีนวล Sirirat Choosakoonkriang ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง Silpakorn University Sirirat Choosakoonkriang ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง CHOOSAKOONKRIAN_S@SU.AC.TH CHOOSAKOONKRIAN_S@SU.AC.TH |
Keywords: | ความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ ผู้ต้องขัง การพัฒนาระบบการประเมินและติดตาม Risk of recidivism Offenders The assessment and monitoring system development |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop and evaluate the validity of Thai-version of Oxford Risk of Recidivism Tool (OxRec), 2) to develop cut-off score of OxRec, 3) to study concurrent validity of OxRec, 4) to study risk of recidivism and factors affecting recidivism, and 5) to develop guidelines in monitoring for life and sex offenders on felony charges in prisons. The methodology was used multimethod research. The sample consisted of 370 life and sex offenders on felony charges in prisons located in Bangkok metropolitan region, and 5 criminological and penological experts. The instrument consisted of OxRec, Offender Risk Assessment (OA), and semi-structure interview. The diagnostic accuracy, concurrent validity, and multiple logistic regression analyses, including qualitative content analysis, were used for data analysis.
The results were as follows; 1) Thai-version of OxRec has sensitivity 84.2%, specificity 97.9%, PPV 92.0%, NPV 95.6% and AUC 0.94, 2) the cut off score of OxRec at 8% or more, 3) OxRec had high concurrent validity, 4) factors affecting recidivism, such as male, 12-24 months length of incarceration, previous violent crime, unemployment and drug abuse before incarceration, and 5) guidelines in monitoring for life and sex offenders on felony charges in prisons consisted of using the quality of OxRec, developing continuously the assessment and monitoring system, reducing risk factors that cause recidivism, considering the rehabilitate follow by the risk level, and coordinating with other agencies. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ (OxRec) ฉบับแปลภาษาไทย 2) เพื่อพัฒนาเกณฑ์คะแนนจุดตัดของแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ (OxRec) 3) เพื่อศึกษาของความเที่ยงตรงตามสภาพของแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ (OxRec) 4) เพื่อศึกษาความเสี่ยงของผู้ต้องขังในการกระทำผิดซ้ำและปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำ และ 5) เพื่อพัฒนาแนวทางในการติดตามผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัวพ้นโทษที่ก่อคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ โดยได้ดำเนินการออกแบบวิธีการวิจัยเป็นหลายระยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังคดีอุกฉกรรจ์ที่ฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ที่จำคุกในเรือนจำและทัณฑสถาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 370 คน และผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านทัณฑวิทยา ด้านอาชญาวิทยาและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ (OxRec) แบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง ก่อนได้รับการปล่อยตัว (OA) และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแม่นยำในการทำนาย การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามสภาพ และการวิเคราะห์การถดถอย พหุแบบลอจิสติค รวมทั้งวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ OxRec ให้ค่าความไว ร้อยละ 84.2 ค่าจำเพาะ ร้อยละ 97.9 ค่าความน่าจะเป็นที่จะกระทำผิดซ้ำเมื่อผลเป็นบวก (PPV) ร้อยละ 92.0 ค่าความน่าจะเป็นที่จะไม่กระทำผิดซ้ำเมื่อผลเป็นลบ (NPV) ร้อยละ 95.6 และค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.94 2) แบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ มีจุดตัดที่ร้อยละ 8 ขึ้นไป 3) แบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ (OxRec) มีความเที่ยงตรงตามสภาพระดับสูง 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำ ได้แก่ เพศชาย ระยะเวลาต้องโทษ 12-24 เดือน ประวัติการกระทำผิด การไม่มีงานทำ และการใช้สารเสพติดก่อนต้องโทษ และ 5) แนวทางในการติดตามผู้ต้องขังฯ สำหรับกลุ่มความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนมาใช้แบบประเมินความเสี่ยงกระทำผิดซ้ำที่มีคุณภาพ การพัฒนาระบบการประเมินและติดตามผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง การลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ การพิจารณาการแก้ไขฟื้นฟูตามระดับความเสี่ยง และการประสานความร่วมมือจากหน่วยงาน |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4399 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57312924.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.