Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4440
Title: Factors Associated with Cholinesterase Levels in Blood of Farmers in Muang District, Prachuapkhirikhan Province
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Authors: Orawan IAMSRIWAN
อรวรรณ เอี่ยมศรีวรรณ
Bhanupong Phrommarat
ภานุพงศ์ พรหมมารัตน์
Silpakorn University
Bhanupong Phrommarat
ภานุพงศ์ พรหมมารัตน์
b.phrommarat@gmail.com
b.phrommarat@gmail.com
Keywords: พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
Pesticide use behavior
Pesticides
Cholinesterase
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Cholinesterase converts acetylcholine to choline and acetate. When exposed to pesticides that inhibit the activity of enzymes This causes the accumulation of acetylcholine, which affects the central nervous system and peripheral nerves. Objectives of the were present study to investigate the level of risk among farmers exposed to pesticides, to assess the farmers' knowledge and pesticide use behavior, and to analyze the relationship between knowledge, understanding and awareness of behavioral factors of pesticide use in Muang district, Prachuap Khiri Khan Province. A quantitative research model was employed and data was collected from a stratified random sample of 396 farmers from the Central Farmers Database. Cholinesterase enzyme levels in farmers' blood were also screened. The data was analyzed using descriptive statistics, Chi-Square and Fisher's Exact Test. The results showed that most farmers had a safe level of cholinesterase enzyme screening, with 50.3%having moderate knowledge and understanding, 86.9% having moderate pesticide use behavior. The result also found that there was a statistically significant correlation (p-value < 0.001)between knowledge, understanding and awareness of pesticide use and cholinesterase enzyme levels in farmers' blood. However, no statistically significant correlation was found between behavioral factors of chemical use and cholinesterase levels. The study suggests that government agencies and the private sector should promote knowledge, understanding, and awareness of pesticide poisoning and the dangers caused by pesticides, support the establishment of learning centers or model gardens using biological agents, and find ways to reduce the use of chemicals and increase the use of organic substances to prevent hazardous chemicals from entering into the body.
เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสทำหน้าที่เปลี่ยนอะซีติลโคลีนเป็นโคลีนและอะซีเตท เมื่อสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์ยับยังการทำงานของเอนโซม์ จึงทำให้เกิดการคั่งของอะซีติลโคลีนซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประสาทส่วนกลางและประสาทส่วนปลาย โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงของเกษตรกรที่สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2) เพื่อประเมินระดับความรู้ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนัก ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากฐานข้อมูลเกษตรกรกลางที่ขึ้นทะเบียนสะสม จำนวน 396 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเป็นสัดส่วนเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และตรวจคัดกรองเพื่อหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Chi-Square และ Fisher’ s Exact Test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า จากการคัดกรองหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส เกษตรกรส่วนใหญ่มีผลการคัดกรองในระดับปลอดภัย ร้อยละ 50.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ส่วนใหญ่  ในระดับปานกลาง   ร้อยละ 86.9 มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.9 และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p-value < 0.001) ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร จากผลการวิจัยนี้ หน่วยงานภาครัฐรวมถึงเอกชนที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมด้านความรู้ ความเข้าใจให้เกิดความตระหนักต่อพิษ และอันตรายที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ หรือ สวนต้นแบบใช้สารชีวภาพ และหาแนวทางการป้องกันสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย โดยการสร้างค่านิยม ลดการใช้สารเคมีเพิ่มการใช้สารอินทรีย์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4440
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620720080.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.