Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4449
Title: Estimating the age of Chrysomya megacephala larval stages from morphology and cuticular hydrocarbon analysis
การประมาณอายุหนอนแมลงวันหัวเขียว Chrysomya megacephala จากสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์สารประกอบไฮโดรคาร์บอนบนผนังลำตัว
Authors: Palita SIRISATIAN
ปาลิฏา ศิริเสถียร
Orathai Kheawpum
อรทัย เขียวพุ่ม
Silpakorn University
Orathai Kheawpum
อรทัย เขียวพุ่ม
KHEAWPUM_O@SU.AC.TH
KHEAWPUM_O@SU.AC.TH
Keywords: นิติกีฏวิทยา
หนอนแมลงวันหัวเขียว
สัณฐานวิทยา
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนบนผนังลำตัว
Forensic entomology
Chrysomya megacephala
Morphology
Cuticular hydrocarbon
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Chrysomya megacephala (Fabricius) is one of the most abundant forensic blowfly species in Thailand. Its growth and development patterns have great implications in the estimation of the postmortem interval (PMI). The objective of this study was to age fly larvae by morphology and analysis of cuticular hydrocarbons using Gas Chromatography Mass Spectrometry (GC–MS). In this experiment, the developmental duration, larval body length and morphological changes of C. megacephala were examined. The experiment was conducted at 30 ± 2 °C and ~70 % relative humidity. The results showed that the mean width and the mean length of larvae varied according to daily growth of larvae. Regression analysis was conducted to obtain equations of the variation in larval body width and length with time after hatching.  The cuticular hydrocarbons were extracted with hexane and analysed using gas chromatography-mass spectrometry. The specificity of the hydrocarbon compounds identified in daily larvae varied which the growth. The results from this work might be useful for estimating the age of fly larvae and could be applied in real forensic cases.
แมลงวันหัวเขียว Chrysomya megacephala (Fabricius) เป็นแมลงวันที่มีความสำคัญทางนิติวิทยาศาสตร์มากที่สุดในประเทศไทย รูปแบบการเติบโต และพัฒนาการของหนอนแมลงวันมีความเกี่ยวข้องอย่างมากในการประมาณระยะเวลาหลังการตาย (PMI) วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อตรวจระบุอายุตัวอ่อนหนอนแมลงวันด้วยสัณฐานวิทยา และวิเคราะห์ไฮโดรคาร์บอนบนผนังลำตัว (cuticular hydrocarbon) โดยใช้แก๊สโครมาโตกราฟี - แมสสเปกโตรเมตรี (GC–MS) ในการศึกษานี้ได้ตรวจสอบระยะเวลาการเจริญเติบโต ความยาวลำตัวตัวอ่อน และการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของ C. megacephala โดยทำการทดลองที่อุณหภูมิ 30 ± 2 °C และความชื้นสัมพัทธ์ ~70 % ผลการศึกษาพบว่า ความกว้างเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของตัวอ่อนหนอนแมลงวันแปรตามการเจริญเติบโตของหนอนในแต่ละวัน ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเพื่อสร้างสมการความแปรผันของความกว้างและความยาวลำตัวตัวอ่อนกับเวลาหลังฟักออกจากไข่ ไฮโดรคาร์บอนบนผนังลำตัวถูกสกัดด้วยเฮกเซน และวิเคราะห์โดยใช้แก๊สโครมาโตกราฟี - แมสสเปกโตรเมตรี ความจำเพาะของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ระบุในตัวอ่อนแต่ละวันจะแตกต่างกันไปตามการเจริญเติบโต ผลลัพธ์จากศึกษานี้อาจเป็นประโยชน์ในการประมาณอายุของตัวอ่อนหนอนแมลงวัน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีจริงทางนิติวิทยาศาสตร์ได้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4449
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630720048.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.