Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4467
Title: Factors Associated with the Lack of HIV Viral Load Monitoring in HIV-infected Patients Receiving Antiretroviral Drugs 
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการขาดการตรวจติดตามปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส
Authors: Waranya PHILUK
วรัญญา พิลึก
Sineenart Krichanchai
สินีนาฏ กริชชาญชัย
Silpakorn University
Sineenart Krichanchai
สินีนาฏ กริชชาญชัย
Krichanchai_s@su.ac.th
Krichanchai_s@su.ac.th
Keywords: การตรวจติดตามปริมาณของเชื้อเอชไอวี
การรับรู้ประโยชน์
การรับรู้อุปสรรค
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
การสนับสนุนทางสังคม
HIV viral load monitoring
Perceived benefits
Perceived barriers
Perceived self-efficacy
Social support
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: HIV viral load monitoring is a way to track response of antiretroviral drugs and identify treatment failures. This qualitative case study explores the factors associated with the lack of HIV viral load monitoring in HIV-infected patients receiving antiretroviral drugs. In-depth interview were conducted with 10 key individual who had been on antiretroviral drugs for at least 6 months but had not had their HIV viral load monitored in Uthaithani Hospital. Qualitative data were analyzed using thematic analysis and content analysis. The results showed that lack of information about HIV viral load monitoring resulted in HIV-infected patients being ignorant of the benefits of HIV viral load monitoring and which in turn lead to a lack of monitoring. HIV-infected patients perceived environmental factors as barriers including service timelines, appointments, and ineffective record keeping. The Lack of informational support for HIV viral load monitoring appointment resulted in loss of follow-up. In particular, HIV-infected patients with daily incomes may face income barriers. Also, medical personnel play an important role in providing information about HIV viral load monitoring, treatment goals and appointment, which can impact the adherence of HIV infected patients to monitoring.
การตรวจติดตามปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เป็นวิธีการติดตามการตอบสนองต่อยาต้านไวรัส และระบุความล้มเหลวในการรักษา งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพในรูปแบบการวิจัยเชิงกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการขาดการตรวจติดตามปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับประทานยาต้านไวรัสต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน แต่ขาดการตรวจติดตามปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด จำนวน 10 คน ในคลินิกเอชไอวี โรงพยาบาลอุทัยธานี สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทำโดยการวิเคราะห์ข้อมูลผสมระหว่างการวิเคราะห์แก่นสาระและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การขาดข้อมูลเกี่ยวกับการติดตามผลการรักษาจากปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่รับรู้ประโยชน์ของการตรวจติดตามปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด และนำไปสู่การขาดการตรวจติดตามการรักษา ผู้ติดเชื้อเอชไอวีรับรู้อุปสรรคที่เกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง ช่วงเวลาการให้บริการ การนัดหมาย การจัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นอุปสรรคต่อการตรวจติดตาม การไม่ได้รับสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลเกี่ยวกับการนัดหมาย ส่งผลต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอุปสรรคจากการขาดรายได้เมื่อต้องมาตรวจติดตามการรักษา บุคลากรการแพทย์มีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลด้านการตรวจติดตาม การกำหนดเป้าหมายในการรักษา และการนัดหมาย ซึ่งจะส่งผลสำคัญต่อความร่วมมือในการตรวจติดตามปริมาณเชื้อเอชไอวีของผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4467
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60362308.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.