Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4468
Title: Factors Affecting Health Literacy and Dementia Knowledge among Elderly in Samut Songkhram Province
ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม
Authors: Subhanan LAOKHAM
ศุภานัน เหลาคำ
Waranee Bunchuailua
วารณี บุญช่วยเหลือ
Silpakorn University
Waranee Bunchuailua
วารณี บุญช่วยเหลือ
BUNCHUAILUA_W@su.ac.th
BUNCHUAILUA_W@su.ac.th
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ความรู้
ภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุ
health literacy
knowledge
dementia
elderly
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed to examine health literacy and dementia knowledge and factors related to health literacy and dementia knowledge among the elderly in Samut Songkhram province. Three hundred elderly people without dementia were chosen by stratified sampling method according to study area. Data were gathered through interviews between November 2022 and January 2023 using the Thai Health Literacy Assessment Using Word List with Extended Questions to Test Comprehension (THLA-W+) and dementia knowledge questionnaires. Health literacy was measured as inadequate and adequate levels, and dementia knowledge was measured as low and high levels. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation. The Chi-square test and logistic regression were used as inferential statistics. The results found that 72% of the elderly had adequate health literacy and receiving information about dementia (Odds ratio (OR)=8.29, 95% CI: 4.33-15.86) and writing ability (OR=3.61, 95% CI: 1.41-9.28) were statistically significantly associated with health literacy.  Regarding dementia knowledge, a high level of dementia knowledge was present in 56.7% of the elderly. Receiving information about dementia (OR=0.52, 95% CI: 0.28-0.96), writing ability (OR= 0.20, 95% CI: 0.08-0.51), reading ability (OR=3.68, 95% CI: 1.45-9.36), income (OR=3.15, 95% CI: 1.32-7.51), having underlying disease (OR=2.13, 95% CI: 1.06-4.28) and health literacy (OR=0.36, 95% CI: 0.19-0.71) were factors that significantly affected knowledge about dementia. The findings could be applied to the development of dementia awareness and health literacy learning programs suitable for the elderly population as well as used to alter health behaviors to further lower the risk of dementia.  
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในมิติของความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในมิติของความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ยังไม่เป็นโรคสมองเสื่อมและอาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 300 คน ใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามพื้นที่ที่ศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มกราคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพชนิดรายการคำที่มีคำถามทดสอบความเข้าใจฉบับภาษาไทย (THLA-W+)  ซึ่งแบ่งระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นเพียงพอและไม่เพียงพอ และแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบ่งระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมเป็นสูงและต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเพียงพอ ร้อยละ 72  และพบว่าประวัติการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม (Odds ratio= 8.29, 95% CI: 4.33-15.86) และความสามารถในการเขียน (Odds ratio= 3.61 , 95% CI: 1.41-9.28) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในระดับสูง ร้อยละ 56.7 ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประวัติการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม (Odds ratio=0.52, 95% CI: 0.28-0.96) ความสามารถในการเขียน (Odds ratio=0.20, 95% CI: 0.08-0.51) ความสามารถในการอ่าน (Odds ratio=3.68, 95% CI: 1.45-9.36) รายได้ต่อเดือน (Odds ratio= 3.15, 95% CI: 1.32-7.51) โรคประจำตัว (Odds ratio=2.13, 95% CI: 1.06-4.28) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Odds ratio=0.36, 95% CI: 0.19-0.71) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมต่อไป
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4468
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60362309.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.