Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4487
Title: Development of augmented reality media for inhaler usage in patients with asthma and chronic obstructive pulmonary disease 
การพัฒนาสื่อวิธีใช้ยาสูดพ่นสำหรับโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
Authors: Sarinrat TOBARAMEEKUL
ศรินรัตน์ โตบารมีกุล
Suang Rungpragayphan
สรวง รุ่งประกายพรรณ
Silpakorn University
Suang Rungpragayphan
สรวง รุ่งประกายพรรณ
RUNGPRAGAYPHAN_S@su.ac.th
RUNGPRAGAYPHAN_S@su.ac.th
Keywords: เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
ยาสูดพ่นชนิดMDI
โรคหอบหืด
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
augmented reality technology
MDI inhaler
asthma
chronic obstructive pulmonary disease
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Objective: To develop the media for providing knowledge for patients with asthma and chronic obstructive pulmonary disease using augmented reality technology, evaluate the efficiency and effectiveness of the media, and assess users’ satisfaction. Methods: The researcher developed augmented reality media using the ADDIE Model using the Unity3D and the Vuforia Engine. The media consisted of 8 domains of knowledge on MDI. Users could scan MDI packages with smartphone camera to access the media. The media was evaluated for its effectiveness by four experts in information technology. Investigators determined media effectiveness by assessing the correctness of MDI use and MDI knowledge of two randomly allocated groups of participants, i.e., the group receiving instruction on MDI use through the media (media group) and the group receiving advices from a pharmacist (pharmacist group). Assessment was made immediately after viewing the media or receiving advices. The satisfaction with media was assessed in the participants receiving instruction on MDI use through the media. Results: The media with augmented reality had an overall efficiency of 85%. Regarding the effectiveness, the average score of the media group on understanding of technique in MDI use was 11.33±1.44 out of 13, which was not different from that in the pharmacist group (11.60±0.67). Mean MDI of the media group was 8.87±1.07 out of 10, which was significantly higher than that of pharmacist group (8.30±1.06) (P<0.05). Media group had average score on satisfaction with media at a high level (4.50±0.12 out of the full score of 5), with the highest satisfaction score on inhaler use knowledge (4.67±0.61). Conclusion: The augmented reality media on on the instruction of MDI use developed in the study could be used as an effective and efficient educational tool for patients with asthma and chronic obstructive pulmonary disease. Patients are satisfied with the use of media. The results of this study can be applied in the development of media for providing knowledge in other medications and health problems.
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาสื่อให้ความรู้เรื่องยาสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน วิธีการ: ผู้วิจัยพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมด้วย ADDIE Model ด้วยโปรแกรม Unity3D และ Vuforia Engine สื่อประกอบด้วยความรู้เรื่องยาสูดพ่นชนิด MDI 8 หัวข้อ ผู้ใช้สามารถสแกนกล่องยาสูดพ่นชนิด MDI ผ่านกล้องของสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าถึงสื่อให้ความรู้ สื่อได้รับการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 คน การประเมินประสิทธิผลของสื่อทำโดยผู้วิจัยประเมินความถูกต้องของขั้นตอนการใช้ยาและความรู้เรื่องยาสูดพ่นชนิด MDI ของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย 2 กลุ่มที่แบ่งกลุ่มด้วยการสุ่มแยกกลุ่ม เป็นกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำเรื่องการใช้ยาสูดพ่นชนิด MDI ผ่านสื่อ และกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร การประเมินทำทันทีหลังการดูสื่อหรือได้รับคำแนะนำ ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยกลุ่มที่ได้ดูสื่อเป็นผู้ประเมินความพึงพอใจต่อสื่อ ผลการวิจัย: สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 85 ส่วนในด้านประสิทธิผล กลุ่มที่ใช้สื่อมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจวิธีและขั้นตอนการพ่นยาสูดพ่นชนิด MDI 11.33±1.44 จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน ซึ่งไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร (11.60±0.67) กลุ่มที่ใช้สื่อมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับยาสูดพ่นชนิด MDI 8.87±1.07 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกร (8.30±1.06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อสื่อเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.50±0.12 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยมีความพึงพอใจสูงสุดด้านความรู้เรื่องการใช้ยาสูดพ่น (4.67±0.61) สรุป: สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมสำหรับให้ความรู้เรื่องยาสูดพ่นชนิด MDI ที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้เป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการใช้งาน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างสื่อให้ความรู้เรื่องยาและสุขภาพอื่นต่อไป
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4487
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630820027.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.