Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4492
Title: A Causal Structure Model of Healthy Rice in Thailand: An Exploratory Component Analysis and Loyalty Strategy
รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุข้าวเพื่อสุขภาพของประเทศไทย: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและกลยุทธ์การสร้างความภักดี
Authors: Poschanan BOONCHUAI
พสชนันท์ บุญช่วย
Prasopchai Pasunon
ประสพชัย พสุนนท์
Silpakorn University
Prasopchai Pasunon
ประสพชัย พสุนนท์
pasunon@gmail.com
pasunon@gmail.com
Keywords: ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ / กิจกรรมทางการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ / ประสบการณ์ของลูกค้า / ข้าวเพื่อสุขภาพ
Elemental analysis / Social media marketing activities / Customer experience / Healthy rice
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   The objectives of this research were 1) To study the components of marketing activities on social media. customer experience customer satisfaction brand awareness 2) To examine the consistency of the causal relationship structure model of marketing activities on social media. and customer experience towards brand loyalty through customer satisfaction. 3) To analyze brand loyalty strategies through social media for healthy rice in Thailand. This study used the mixed method research It consists of quantitative research with exploratory component analysis and confirmatory component analysis. The sample group and checking the conformity of the causal relationship structure model were the sample group. Consumers who shop through social media Group of working people aged 20-59 who are health lovers which are 1,211 consumers who buy products or have decision-making power to buy healthy rice and qualitative research consisting of key informants Be a social media expert. The main informants were divided into 3 groups, namely, the group of professors, academics, Social Media Marketer Group and healthy rice traders through social media The main informants in this study were 27 people. This research was approved by the Human Research Ethics Committee to conduct the research according to academic and ethical principles. The results of the research showed that 1) Elements of social media marketing activities customer experience towards brand loyalty through customer satisfaction and brand awareness through social media for healthy rice in Thailand. The data analysis revealed that the chi-square (X2) value was 3180.38 with statistical significance at p-value = 0.18, the relative chi-square (X2/df) = 1.88, and the harmoniousness index. Relative Conformity Index (CFI) = 0.98, Corrected Conformity Index (GFI) = 0.97, Corrected Conformity Index (AGFI) = 0.96, and RMSEA.) = 0.000 which all criteria are met. The weight of every variable in every component is greater than 0.40, which is within the appropriate criteria. And questions are part of that variable. 2) Social media marketing activities. customer experience customer satisfaction and brand awareness Correspondingly, all of the variables were greater than 0.70. A total of 60 variables were constituents of the commercial brand loyalty model. which can be seen that the model is consistent with the empirical data and all assumptions are accepted. 3) 3.1 Analysis of marketing strategies related to communication to consumers, including telling stories. The content is short, less than 1 minute, and entertaining. Product advertising and marketing promotion Interaction with customers 3.2 Customer experience strategies include engaging customers in activities. product review Easy to access process 3.3 Impressive strategies include good product quality. Use sincerity and straightforwardness with accurate information, not deceiving, product prices suitable for quality. product review certified by rice standards Education about healthy rice. 3.5 Loyalty strategy, including product quality. The price is suitable for the quality of the product. Good service, fast, consistent advertising. Create sincerity, not deceit Willing to solve problems for customers.
วัตถประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบกิจกรรมทางการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ ประสบการณ์ของลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า การรับรู้ตราสินค้า และความภักดีต่อตราสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ข้าวเพื่อสุขภาพของประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกิจกรรมทางการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ของลูกค้า ที่มีต่อความภักดีต่อตราสินค้าผ่านความพึงพอใจของลูกค้า และการรับรู้ตราสินค้าข้าวเพื่อสุขภาพ ของประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อตราสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ข้าวเพื่อสุขภาพของประเทศไทย การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบ เชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริโภค ที่ซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มคนทำงานอายุ 20-59 ปีที่เป็นคนรักสุขภาพ ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือเป็นบุคคลที่ มีอำนาจตัดสินใจเลือกซื้อข้าวเพื่อสุขภาพ 1,211 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อสังคมออนไลน์ โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาจารย์นักวิชาการ กลุ่มนักการตลาดสื่อสังคมออนไลน์  และผู้ประกอบการค้าข้าวเพื่อสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ให้ข้อมูลหลักในงานวิจัยนี้รวมจำนวน 27 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในการดาเนินการวิจัยตามหลักวิชาการและจริยธรรม ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบกิจกรรมทางการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ ประสบการณ์ของลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า การรับรู้ตราสินค้าและความภักดีต่อตราสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ข้าวเพื่อสุขภาพของประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าไค-สแควร์ (X2) มีค่า 3180.38 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.18 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) = 1.88 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) = 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)= 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.96 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) = 0.000 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ซึ่งค่าน้ำหนักของตัวแปรในองค์ประกอบทุกตัวมีค่ามากกว่า 0.40 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และข้อคำถาม เป็นส่วนหนึ่งของตัวแปรนั้น ๆ 2) กิจกรรมการตลาดสื่อสังคมออนไลน์ ประสบการณ์ของลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า และการรับรู้ ตราสินค้า ตามลำดับตัวแปรมีค่ามากกว่า 0.70 ทุกตัวทั้งหมด 60 ตัวแปรเป็นองค์ประกอบของรูปแบบความภักดีต่อตราสินค้า เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเห็นว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และยอมรับสมมติฐานทุกข้อ 3) 3.1 กลยุทธ์การสื่อสาร ไปสู่ผู้บริโภค ได้แก่ บอกเล่าเรื่องราว เนื้อหาสาระสั้นไม่เกิน 1 นาที และสร้างความบันเทิง การโฆษณาสินค้าและส่งเสริมการตลาด การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า 3.2 กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ลูกค้า ได้แก่ สร้างให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในกิจกรรม การรีวิวสินค้า กระบวนการที่เข้าถึงง่าย สร้างความประทับใจในสินค้า บริการดี ช่องทางการติดต่อสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า 3.3 กลยุทธ์การสร้าง ความประทับใจ ได้แก่ คุณภาพสินค้าที่ดี ใช้ความจริงใจตรงไปตรงมาด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่หลอกลวง ราคาสินค้าเหมาะสมกับคุณภาพ 3.4 กลยุทธ์การสร้างการรับรู้ ได้แก่ นำเสนอการบอกเล่าเรื่องราว การรีวิวสินค้า ได้รับการรับรองมาตรฐานข้าว การให้ความรู้เกี่ยวกับข้าวเพื่อสุขภาพ 3.5 กลยุทธ์การสร้างความภักดี ได้แก่ คุณภาพของสินค้า ราคาเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า การบริการที่ดี รวดเร็ว การโฆษณาสม่ำเสมอ สร้างความจริงใจไม่หลอกลวง เต็มใจแก้ปัญหาให้ลูกค้า
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4492
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60604904.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.