Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4495
Title: An Operational Model Using Community Capital to Develop Sustainable Community-Based Tourism
รูปแบบการดำเนินงานโดยใช้ทุนชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน
Authors: Sirawish SUPRADITH
ศิรวิชญ์ สุประดิษฐ์
Santidhorn Pooripakdee
สันติธร ภูริภักดี
Silpakorn University
Santidhorn Pooripakdee
สันติธร ภูริภักดี
santidhorn@gmail.com
santidhorn@gmail.com
Keywords: การท่องเที่ยวโดยชุมชน
กิจการเพื่อสังคม
ทุนชุมชน
การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
community-based tourism
social enterprise
community capital
sustaianable tourism development
sustaianble development
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed to 1) study situations and trends of social enterprise for sustainable community-based tourism development in Thailand, 2) examine importance levels of social enterprise affecting sustainable community-based tourism, 3) investigate the relation test results of social enterprise affecting sustainable community-based tourism, and 4) study the development guidelines for social enterprise development and sustainable tourism development of community-based tourism. This mixed-methods research implemented in-depth interviews with four successful social enterprise groups and focus-group discussions with 12 experts from governmental and private organizations. The relations of social enterprises affecting sustainable community-based tourism were tested quantitatively. A questionnaire was distributed to 231 respondents in communities with community-based tourism operation in Thailand.Hypotheses were statistically tested using Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results revealed that a development guideline for social enterprise and sustainable community-based tourism requires an insightful understanding of administration and management and existing community capital to apply to the community contexts. The economy, society, environment, and culture should also be taken into account. The 9 strategies include tourism community leaders, community engagement, knowledge, network, convenience, shared economy, community identity, and service (being good hosts). Regarding the importance level of social enterprise, it was found that community-based tourism components showed the highest significance with a mean of 4.54. The social enterprise operation was also significant at the highest level. Overall, community capital also displayed the highest level of importance with a mean of 4.52, and sustainable community-based tourism development was also at the highest level with a mean of 4.51. The test of social enterprise relations that affect sustainable tourism revealed that social enterprise operation, social enterprise through community-based tourism, and social enterprise through community capital positively correlated with sustainable community-based tourism. The present research provides beneficial information as the basic knowledge related to community-based tourism, community capital, social enterprise, and sustainable tourism development. Also, it provides academic knowledge about an operational model using community capital for sustainable community-based tourism development as a guideline to develop sustainable community-based tourism.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์และทิศทางกิจการเพื่อสังคมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของกิจการเพื่อสังคมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาผลการทดสอบความสัมพันธ์กิจการเพื่อสังคมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจการเพื่อสังคมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของการท่องเที่ยวโดยชุมชน การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ  โดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับวิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 กลุ่ม การสนทนากลุ่มกับองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวน 12 ราย และการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์กิจการเพื่อสังคมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยที่ จำนวน 231 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานกิจการเพื่อสังคมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงการบริหารจัดการ เข้าใจถึงทุนชุมชนที่ตนเองมีนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของชุมชนซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืนที่คำนึงถึง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยมีกลยุทธ์ 9 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผู้นำชุมชนท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านองค์ความรู้ ด้านเครือข่าย ด้านความสะดวกสบาย ด้านเศรษฐกิจแบ่งปัน ด้านอัตลักษณ์ของชุมชน และด้านการบริการ (การเป็นเจ้าบ้านที่ดี) ระดับความสำคัญของกิจการเพื่อสังคมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พบว่าองค์ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.54  การดำเนินงานกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทุนชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.51  การทดสอบความสัมพันธ์กิจการเพื่อสังคมที่มีผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พบว่า การดำเนินกิจการเพื่อสังคม,กิจการเพื่อสังคมผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชนและกิจการเพื่อสังคมผ่านทุนชุมชนมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากการศึกษาวิจัยสามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นฐานความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทุนชุมชน กิจการเพื่อสังคม และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงได้องค์ความรู้ทางวิชาการ เกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินโดยใช้ทุนชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4495
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60604916.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.