Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4496
Title: DEVELOPMENT OF RESILIENCE MANAGEMENT STRATEGIES OFTUTORING BUSINESS IN THE FRANCHISE SYSTEM IN THAILAND
การพัฒนากลยุทธ์การจัดการความยืดหยุ่นของธุรกิจกวดวิชาในระบบแฟรนไชส์ของประเทศไทย
Authors: Kuntika VIBOONPIN
กุลทิกา วิบูลย์ปิ่น
Pitak Siriwong
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University
Pitak Siriwong
พิทักษ์ ศิริวงศ์
innjun@yahoo.com
innjun@yahoo.com
Keywords: การจัดการความยืดหยุ่น
ธุรกิจกวดวิชาในระบบแฟรนไชส์
ภาวะผู้นำและวัฒนธรรม
เครือข่าย และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง
RESILIENCE MANAGEMENT
TUTORING BUSINESS IN THE FRANCHISE SYSTEM
LEADERSHIP AND CULTURE
NETWORK AND READINESS FOR CHANGE
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research was to study trends and constituents of the tutoring business in the franchise system of Thailand using a qualitative research method. The research involved documentary research and Internet research methods, employing netnography to synthesize internal and external environments (SWOT). In addition, future research techniques (EDFR) were utilized, which included in-depth interviews with 17 key informants, along with the analytical hierarchical decision-making (AHP) process. These methods led to the formulation of resilience management strategies through group meetings and collaboration with stakeholders in the tutoring business within the franchise system. The results revealed that the strategy for managing the flexibility of the tutoring business in the franchise system of Thailand consists of three main components and eleven sub-components. The first component is Leadership and Culture, which aids in effective crisis management and decision-making. It emphasizes the importance of employees staying vigilant about organizational matters and promptly reporting information to organizational leaders. This enables the organization to plan and anticipate potential situations effectively. The second component is Network, emphasizing the significance of establishing strong partnerships and alliances to receive effective support, exchange knowledge, and foster sustainable development while solving problems. Furthermore, it highlights the importance of knowledge management within the organization to ensure up-to-date and accessible information, facilitating efficient work for personnel. The third component is Readiness for Change, which stresses the organization's preparedness to respond to early signs of change before they escalate into crises. This readiness enables the organization to address various situations in a timely manner. Based on the research findings, two phases of suggestions are proposed. The first phase involves regular training to maintain franchisee standards, along with the establishment of a dedicated franchise team to address potential issues. The second phase focuses on establishing a flexible system that adapts to change annually to sustain and maintain the quality of business operations, which is a key strength of the tutoring business. In conclusion, this research sheds light on the components and sub-components of the strategy for managing the flexibility of the tutoring business in the franchise system of Thailand. The findings provide valuable insights for formulating resilience management strategies and ensuring the continued success of the business.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มและองค์ประกอบและพัฒนากลยุทธ์การจัดการความยืดหยุ่นของธุรกิจกวดวิชาในระบบแฟรนไชส์ของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิจัยเอกสาร และการประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยทางอินเทอร์เน็ต (Netnography) ในการสังเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT) หลังจากนั้น ใช้เทคนิควิจัยอนาคต (EDFR) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 คน ร่วมกับกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) เพื่อนำไปสู่การจัดทำกลยุทธ์ โดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจกวดวิชาในระบบแฟรนไชส์ สำหรับจัดทำกลยุทธ์การจัดการความยืดหยุ่นของธุรกิจกวดวิชาในระบบแฟรนไชส์ของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความยืดหยุ่นของธุรกิจกวดวิชาในระบบแฟรนไชส์ของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย กล่าวคือ 1) ภาวะผู้นำและวัฒนธรรม (Leadership and Culture) พบว่า การมีผู้นำที่เข้มแข็งในช่วงเวลาที่วิกฤตจะช่วยให้เกิดการบริหารจัดการ และการตัดสินใจที่ดีในช่วงภาวะเช่นนั้น รวมไปถึงการที่พนักงานตื่นตัวอยู่เสมอในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์กร และส่งสัญญาณเตือนตั้งแต่แรกเริ่ม ข้อมูลต่างๆ ได้ถูกรายงานต่อผู้นำขององค์กรอย่างรวดเร็ว จึงทำให้องค์กรสามารถวางแผน และคาดการณ์ล่วงหน้าต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เครือข่าย (Network) พบว่า การเป็นหุ้นส่วน/พันธมิตรที่ดีต่อกัน ย่อมได้รับการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน เกิดการพัฒนา และแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการจัดการองค์ความรู้ขององค์กรให้ทันสมัย และสะดวกต่อการใช้งาน เพื่อสนับสนุนให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง (Readiness to change) พบว่า เมื่อองค์กรพร้อมในการตอบสนองต่อสัญญาณแรกเริ่มของการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะยกระดับเป็นภาวะวิกฤต ทำให้องค์กรสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ทันท่วงที ซึ่งข้อเสนอแนะของงานวิจัยมี 2 ระยะ คือ แบบเร่งด่วน คือการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษามาตรฐานของแฟรนไชส์ และบริษัทผู้ให้สิทธิ์มีทีมตรวจสอบแฟรนไชส์โดยเฉพาะ สำหรับรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และระยะยาว คือการจัดทำระบบความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกปี เพื่อเตรียมความพร้อม และ รักษาคุณภาพของธุรกิจในการนำเสนอ ซึ่งเป็นจุดแข็งของธุรกิจดังกล่าวให้ดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4496
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60604918.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.