Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4500
Title: Innovative Creativity Potential of Academic Staff in Northern Rajabhat Universities for Innovation Performance
ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม ของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ เพื่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม
Authors: Pichayaporn PEERAPAN
พิชญาพร พีรพันธุ์
Viroj Jadesadalug
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
Silpakorn University
Viroj Jadesadalug
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
viroj_jade@hotmail.com
viroj_jade@hotmail.com
Keywords: ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม
บรรยากาศองค์กร
วัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์
บุคลิกภาพเชิงรุก
การรับรู้ความสามารถของตนเอง
พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม
ผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม
Innovative Creativity Potential
Organizational Climate
Constructive Organizational Culture
Proactive Personality
Self-efficacy
Innovative Behavior
Innovation Performance
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were 1) to examine the influences of Innovative Creativity Potential on Innovative Behavior 2) to examine the influences of Innovative Behavior on Innovation Performance 3) to examine the influences of Innovative Creativity Potential on Innovation Performance 4) to examine the influences of Organizational Climate on Innovative Creativity Potential 5) to examine the influences of Constructive Organizational Culture on Innovative Creativity Potential 6) to examine the influences of Proactive Personality as moderating variable to the relationship between Organizational Climate and Innovative Creativity Potential 7) to examine the influences of Proactive Personality as moderating variable to the relationship between Constructive Organizational Culture and Innovative Creativity Potential 8) to examine the influences of Self-efficacy as moderating variable to the relationship between Organizational Climate and Innovative Creativity Potential 9) to examine the influences of Self-efficacy as moderating variable to the relationship between Constructive Organizational Culture and Innovative Creativity Potential 10) to study the guidelines for developing Innovative Creativity Potential of Academic Staff in Northern Rajabhat Universities for Innovation Performance. The mixed methods research methodology was used in the study by complying with the Explanatory Sequential Design; started by using a quantitative approach to study the causal relationship of Innovative Creativity Potential. Quantitative data were gathered by using the questionnaire which was responded by 420 academic staff in Northern Rajabhat Universities. The causal model was analyzed by using structural equation modeling and the hypotheses were evaluated using path analysis. Following that, a qualitative approach using a phenomenological approach has been used to conduct in-depth interviews with 11 key informants who are the academic staff in Northern Rajabhat Universities who have capabilities and empirical innovation performance. The results of the hypothesis test indicated that 1) Innovative Creativity Potential has a positive influence on Innovative Behavior 2) Innovative Behavior has a positive influence on Innovation Performance 3) Innovative Creativity Potential has a positive influence on Innovation Performance 4) Organizational Climate has a positive influence on Innovative Creativity Potential 5) Constructive Organizational Culture has a positive influence on Innovative Creativity Potential 6) Proactive Personality has a positive moderating influence variable on the relationship between Organizational Climate and Innovative Creativity Potential 7) Proactive Personality doesn’t have a positive moderating influence on the relationship between Constructive Organizational Culture and Innovative Creativity Potential 8) Self-efficacy doesn’t have a positive moderating influence to the relationship between Organizational Climate and Innovative Creativity Potential 9) Self-efficacy doesn’t have a positive moderating influence to the relationship between Constructive Organizational Culture and Innovative Creativity Potential. Structural Equation Model (SEM) was analyzed by using SmartPLS software, also called PLS-SEM, which is variance-based SEM (VB-SEM) that is a Partial Least Square Structural Equation Model. It was found that the model fit was high with SRMR value was 0.80 and NFI value was 0.90. The most valuable of the path coefficient is that Innovative Creativity Potential has a positive effect on Innovative Behavior with a value of 0.87. The qualitative research results could explain and elaborate on the quantitative findings. The contributions of this research can explain the causality of Innovative Creativity Potential that has the componential theory of creativity and the social cognitive theory as the foundation theories for integrating and constructing the variables and conceptual framework.  The research results can be used to manage for developing Innovative Creativity Potential of academic staff for enhancing innovation performance and gaining the sustainable competitive advantage.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมที่มีต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่มีต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม 4) เพื่อทดสอบอิทธิพลของบรรยากาศองค์กรที่มีต่อศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 5) เพื่อทดสอบอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์ที่มีต่อศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 6) เพื่อทดสอบอิทธิพลของบุคลิกภาพเชิงรุกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กร กับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 7) เพื่อทดสอบอิทธิพลของบุคลิกภาพเชิงรุกที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์กับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 8) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 9) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างบ วัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์กับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 10) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ เพื่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเริ่มด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ จำนวน 420 คน ใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์เส้นทางเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Approach) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรสายวิชาการที่มีความรู้ความสามารถและมีผลการปฏิบัติงานเชิงประจักษ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเป็นอย่างดี จำนวน 11 คน ผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า 1) ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม 2) พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของบุคคลมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม 3) ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม 4) บรรยากาศองค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 5) วัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 6) บุคลิกภาพเชิงรุกมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 7) บุคลิกภาพเชิงรุกไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์กับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 8) การรับรู้ความสามารถของตนเองไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรกับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 9) การรับรู้ความสามารถของตนเองไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์กับศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม วิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) โดยใช้ซอฟท์แวร์ SmartPLS หรือเรียกว่า PLS-SEM ที่เป็นกลุ่มที่ใช้ความแปรปรวนเป็นฐาน (Variance-Based SEM: VB-SEM) เป็นสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square Structural Equation Model) พบว่า คุณภาพโมเดลภาพรวมมีคุณภาพสูง โดยมีค่า SRMR เท่ากับ 0.80 และค่า NFI เท่ากับ 0.90 และพบว่าค่าน้ำหนักของค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางที่มีค่ามากที่สุด คือศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมมีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม มีค่าเท่ากับ 0.87 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถอธิบาย ยืนยัน และขยายผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณได้เป็นอย่างดีทำให้ผลการศึกษามีความชัดเจนและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ประโยชน์จากการวิจัยนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม โดยมีทฤษฎีพื้นฐานในการวิจัยคือ ทฤษฎีองค์ประกอบของการสร้างสรรค์ (The componential Theory of creativity) และทฤษฎีทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) ซึ่งนำมาใช้ในการบูรณาการเพื่อพัฒนาตัวแปรหลักคือศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย โดยสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมของบุคลากร เพื่อเพิ่มผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมที่ดีขึ้น และเกิดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4500
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61604801.pdf14.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.