Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4518
Title: Influence of Perceived Constructive Organizational Culture which affected Innovative Work Performance of Salespersons in all Bangkok areas as the role in Perceived Behavior Control and Perceived Social Support
อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานขาย เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามบทบาทของการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม
Authors: Pakawat SA-NGUANJEEN
ภควัต สงวนจีน
Viroj Jadesadalug
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
Silpakorn University
Viroj Jadesadalug
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
viroj_jade@hotmail.com
viroj_jade@hotmail.com
Keywords: วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์
การควบคุมพฤติกรรม
การสนับสนุนทางสังคม
Constructive organizational cultures
Behavior control
Social support
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to study 1) The influence of constructive organizational culture on the innovative work performance of salespersons.  2) The influence of perceived behavior control on the relationship between constructive organizational culture and innovative work performance of salespersons and  3)  The influence of perceived social support on the relationship between constructive organizational culture and innovative work performance of salespersons. This research was quantitative research. The data were collected by questionnaire from 408 Thai sales operations who have been working in all Bangkok areas. The quantitative data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage mean, standard deviation, correlation coefficient, and multiple regression analysis. The research resulted that respondents;  1) The influence of constructive organizational culture including tacit knowledge exchange and networking behaviors had a positive affecting the innovative work performance, while resource availability and intrinsic reward for creativity had a negative affecting the innovative work performance and 2) The moderating role of perceived behavior control namely activity control and perceived social support namely perceived social support, organization support, and co-worker support affected the relationship between constructive organizational cultures on innovative work performance, while the moderating role of perceived behavior control namely capability control did not affect the relationship between constructive organizational cultures on innovative work performance. The results of this research could be able to apply for planning or setting policies in order to develop the potential of salespersons effectively.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1)  อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานขาย  2)   อิทธิพลของการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานขาย  และ 3)  อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานขาย  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชากรเป้าหมายจำนวน 408 คน ซึ่งเป็นพนักงานขายระดับปฏิบัติการในองค์กรเอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แบบฝังลึกและด้านการสร้างพฤติกรรมเครือข่ายมีผลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ขณะที่ด้านความพร้อมในด้านทรัพยากรและด้านรางวัลตอบแทนภายในมีผลเชิงลบต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม  2)  อิทธิพลของการควบคุมความสามารถในการทำงานมีผลเชิงลบในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ขณะที่การควบคุมกิจกรรมในการทำงานมีผลเชิงบวกในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม และ 3)  อิทธิพลของการสนับสนุนจากองค์กร การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานมีผลเชิงบวกในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนหรือกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานฝ่ายขายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4518
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631220031.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.