Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4519
Title: THE RAISING OF SMALL LODGING BUSINESS NETWORKING FOR SUSTAINABILITY CRISIS MANAGEMENT IN PRANBUI, PRAVHUAP KHIRI KHAN
การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่พักขนาดเล็ก เพื่อการจัดการวิกฤตการณ์อย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Authors: Chissanu AIAMSSARD
ชิษณุ เอี่ยมสะอาด
Rachanon Taweephol
ระชานนท์ ทวีผล
Silpakorn University
Rachanon Taweephol
ระชานนท์ ทวีผล
rachanon@ms.su.ac.th
rachanon@ms.su.ac.th
Keywords: ธุรกิจที่พักขนาดเล็ก
เครือข่ายผู้ประกอบการ
การจัดการวิกฤตการณ์
ความยั่งยืน
Small Hotel Business
Entrepreneur Network
Crisis Management
Sustainable
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1) To analyze the context and situation of entrepreneur small lodging business in the area of Pranburi districts, Prachuap Khiri Khan province and 2) The development of small lodging business networking for sustainability crisis management in Pranburi districts, Prachuap Khiri Khan province. It was qualitative research with a phenomenological methodology, data were collected by in-depth interviews from the like informants with small lodging entrepreneurs in the area of Pranburi districts, Prachuap Khiri Khan province with 17 peoples. Then data were collected by focus group discussion methodology with representatives of small lodging business operators, government, lecturer in the Hospitality and Tourism Industry, tourist, and other service business operators totaling 25 people. The results of the study revealed that 1) The context and operating conditions of small lodging business operators are as follows: 1.1) Reducing the burden of operating expenses, The addition of monthly room service and contract room service, Participating in the government's We Travel Together project, requiring employees to perform a variety of duties, Increasing reservation channels and public relations via social media, Promotion of room sales activities and contacts with lodging and other service businesses and 1.2) Restrictions related to the number of employees and the number of rooms is insufficient to support during the tourist season. Including the resurgence of the COVID-19 virus and 2.1) The development of a network of small lodging entrepreneurs must determine a horizontal network format. Determining objectives to build relationships and promote tourism potential establishing relationship-building activities between members are formal and informal. Determining network coordinators via social media contact and determining network outcomes to reduce competitive lodging business. 2.2) Sustainable Crisis Management, consisting of 2.2.1) Before of crisis phase: a plan to prepare for dealing with crises, helping to control the effects of non-severe crises. 2.2.2) During a crisis: a communication plan to reduce the impact caused by misunderstanding and panic among employees, service users, and stakeholders in the area and 2.2.3) Post-Crisis period: a plan for rehabilitation to build confidence in the organization's image after the crisis.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทและสภาพการณ์ในการดำเนินธุรกิจที่พักขนาดเล็กของกลุ่มผู้ประกอบการ ในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 2) การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่พักขนาดเล็ก เพื่อการจัดการวิกฤตการณ์อย่างยั่งยืน ในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่พักขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 17 คน รวมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากนั้นจึงเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มกับตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่พักขนาดเล็ก หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการธุรกิจบริการอื่น ๆ รวมทั้งหมด 25 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทและสภาพการณ์การดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจที่พักขนาดเล็ก ได้แก่ 1.1) การลดภาระค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจการ การเพิ่มรูปแบบบริการห้องพักแบบรายเดือนและบริการห้องพักแบบเหมา การเข้าร่วมโครงการเราเที่ยวด้วยกันของภาครัฐ การกำหนดให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลายหน้าที่ การเพิ่มช่องทางการสำรองห้องพักและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การส่งเสริมกิจกรรมการขายห้องพัก และ การติดต่อกับธุรกิจที่พักและธุรกิจบริการอื่น ๆ และ 1.2) ด้านข้อจำกัด เกี่ยวข้องกับจำนวนพนักงานและจำนวนห้องพักไม่เพียงพอต่อการรองรับในช่วงฤดูการท่องเที่ยว รวมถึงการกลับแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกครั้ง และ 2.1) การพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่พักขนาดเล็กต้องมีการกำหนดลักษณะและจำนวนสมาชิกเป็นรูปแบบเครือข่ายแนวราบ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว การกำหนดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเป็นทั้งรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ การกำหนดผู้ประสานงานเครือข่ายผ่านการติดต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ การกำหนดผลลัพธ์ของเครือข่ายเพื่อลดความรุนแรนในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก 2.2) การจัดการวิกฤตการณ์อย่างยั่งยืน ประกอบกด้วย 2.2.1) ระยะก่อนเกิดวิกฤติการณ์เป็นการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือกับวิกฤตการณ์ มีส่วนช่วยให้ผลกระทบที่เกิดจากวิกฤติการณ์ในระดับที่ไม่รุนแรงสามารถควบคุมได้ 2.2.2) ระยะเกิดวิกฤตการณ์เป็นการวางแผนสื่อสารเพื่อลดขนาดของวิกฤตการณ์ทำให้ลดผลกระทบที่เกิดจากความเข้าใจผิดและการตื่นตระหนกของพนักงาน ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และ 2.2.3) ระยะหลังเกิดวิกฤติการณ์เป็นการวางแผนฟื้นฟูเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณองค์กรหลังเกิดวิกฤตการณ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4519
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631220033.pdf9.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.