Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4524
Title: ANTECEDENTS AND CONSEQUENCES OF  GOVERNMENT SAVING BANK EMPLOYEE INNOVATIVE BEHAVIOR IN REGION 5
ปัจจัยเหตุและผลของพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานธนาคารออมสินภาค 5
Authors: Chanaporn LERKPLEAN
ชนาพร เลิกเปลี่ยน
CHUANCHUEN AkKAWANITCHA
ชวนชื่น อัคคะวณิชชา
Silpakorn University
CHUANCHUEN AkKAWANITCHA
ชวนชื่น อัคคะวณิชชา
akkawanitcha@hotmail.com
akkawanitcha@hotmail.com
Keywords: สภาพแวดล้อมในการทำงาน, การแบ่งปันความรู้, แรงจูงใจในการทำงาน, พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน, ประสิทธิภาพในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร
Work environment Knowledge sharing Work Motivation Employee innovative behavior Task performance Organizational commitment
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aims to study 1) the level of employees of the Government Savings Bank Region 5 about the work environment, knowledge sharing, work Motivation, employee innovative behavior,task performance and organizational commitment 2) the influence of work environment, knowledge sharing and work motivation on the employee innovation behavior 3) the influence of employee innovation behavior towards the task performance and organizational commitment. The quantitative research method is employed and using questionnaires as instrument to collect data. The samples are 400 employees of the Government Savings Bank Region 5.By using a quota sampling method from 4 provinces such as Nakhon Pathom Province Nonthaburi Province Suphanburi Province and Kanchanaburi Province, then using convenience sampling The frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation, Confirmatory Factor Analysis and structural equation modeling (SEM) analysis were used to analyze and describe different result. The result of this study showed that most participants were female in the age between 21-30 years who were student of a master's degree.Their average incomes between 15,000 – 20,000 baht/month duration of work between 7-10 years. Result of the analysis that the level of work environment, knowledge sharing, work motivation, employee innovative behavior, task performance and organizational commitment are high level. The hypothesis testing results have found that work environment, knowledge sharing and work motivation have a positive influence on employee innovation behavior, and the employee innovation behavior has a positive influence on the task performance and organizational commitment. Structural equation model is appropriate.
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดของพนักงานธนาคารออมสินภาค 5 เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การแบ่งปันความรู้ แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงาน การแบ่งปันความรู้ แรงจูงใจในการทำงาน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานธนาคารออมสินภาค 5 และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานธนาคารออมสินภาค 5 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งทำการศึกษากับพนักงานธนาคารออมสินภาค 5 จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตาจาก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรีตามด้วยการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าการแจกแจงความถี่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาโท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 20,000 บาท ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 7-10 ปี และผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าระดับ สภาพแวดล้อมในการทำงาน การแบ่งปันความรู้ แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงาน การแบ่งปันความรู้ แรงจูงใจในการทำงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กร สามารถสรุปได้ว่าโมเดลสมการโครงสร้างที่เลือกใช้มีความเหมาะสม 
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4524
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631220053.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.