Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4622
Title: ARCHITECTURAL DESIGN OF PHRA THAT KET KAEW,WAT PA NONG WAI , SISAKET PROVINCE
การออกแบบพระธาตุเกษแก้ว วัดป่าหนองหวาย จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Songwit CHAENGCHIT
ทรงวิทย์ แจ้งจิตร
Pratima Nimsamer
ประติมา นิ่มเสมอ
Silpakorn University
Pratima Nimsamer
ประติมา นิ่มเสมอ
maipratima@hotmail.com
maipratima@hotmail.com
Keywords: เจดีย์ศรีโพธิญาณ
พระธาตุเกษแก้ว
รูปทรง
เอกลักษณ์
SRI BODHIYAN CHEDI
PHRA THAT KET KAEW
FORM
IDENTITY
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Phra That Ket Kaew was designed with the aim to enshrine the bone relics of the Gotama Buddha. The design was developed from that of the stupa, Sri Bodhiyan Chedi at Wat Nong Pa Phong, Ubon Ratchathani Province, created by Nithi Sathapitanon, a national artist. Since Wat Nong Pa Phong is a well-known Buddhist temple for vipassana meditation, the Sri Bodhiyan Chedi has become the temple’s representation which has been imitated by stupas of temple branches, such as Phra That Ket Kaew at Wat Pa Nong Wai, Nong Wai Village. Built in 1992, Sri Bodhiyan Chedi is thirty years old at present and architectural materials are started to be worn out. Because of this problem, designers of Phra That Ket Kaew had to seek and test for better solutions to improve durability of stupa’s materials. Nong Wai Village was the hometown of Phra Thep Wachirayan (Liam Thitadhammo), the second abbot of Wat Nong Pa Phong who introduced the characteristics of Sri Bodhiyan Chedi to Phra That Ket Kaew. Their parallel style indicates that monks of the two temples share the same mode of practices.                    The study took three years for data gathering which a researcher had two roles as a user and an architect to explore the temple and architectural site and to work with construction workers. The researcher also revised architectural construction drawings of Phra That Ket Kaew to be suitable with social context of Wat Pa Nong Wai up until the stupa construction and decoration was completed. The revision and the original design of the stupa were likewise compared.                    The project emphasized local art identity that Phra Thep Wachirayan intent to increase construction knowledge to local people. Restrictions of the project comprised construction workers and construction period which the former included local people, monks, and novices and the latter was one to two years. In order to complete the stupa according to the original plan, construction was managed to go side by side with decoration. However, because of covid-19 widespread situation, the stupa construction was delayed for six months.                    Although the architectural design and construction of Phra That Ket Kaew was simple, easy to take care, fast to build, and less expensive, it applied new materials and technologies for labor-saving, better quality, and easy maintenance by local people. Its decoration was also long-lasting and durable for fewer repairs.  
การออกแบบพระธาตุเกษแก้วมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุ โดยเป็นพัฒนาการต่อเนื่องจากเจดีย์ศรีโพธิญาณ วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งออกแบบโดยนายนิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ  ในฐานะที่เป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านกรรมฐาน เจดีย์ศรีโพธิญาณจึงเป็นตัวแทนในการถ่ายทอดเอกลักษณ์ของวัดหนองป่าพงไปในตัว  อีกทั้งถูกนำมาดัดแปลงทำซ้ำขึ้นมากมายในวัดสาขา  เจดีย์ศรีโพธิญาณซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2535  เป็นสถาปัตยกรรมที่ผ่านการใช้งานขึ้นมาราว 30 ปีที่แล้ว จึงเริ่มมีการชำรุดทรุดโทรมไปตามลำดับ เพื่อพัฒนาและทดลองวัสดุในการแก้ปัญหาเหล่านี้ วัดป่าหนองหวายซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดของพระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสรูปที่สองของวัดหนองป่าพง ได้นำเอกลักษณ์รูปทรงของเจดีย์ลักษณะนี้เพื่อสื่อสารกับสังคมว่าสถานที่แห่งนี้ได้ยึดถือแนวทางปฏิปทาเดียวกัน การเก็บข้อมูลการศึกษา ผู้ศึกษาใช้การสำรวจพื้นที่จริงในฐานะผู้ใช้งานและลงมือร่วมกับช่างก่อสร้างในฐานะผู้ออกแบบ อีกทั้งมีการแก้ไขแบบก่อสร้างเพื่อให้เป็นไปในบริบทสังคมของวัดป่าหนองหวายมากขึ้นซึ่งใช้เวลาในการเก็บข้อมูลราว 3 ปี และเทียบเคียงเหตุผลการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการก่อสร้างและงานตกแต่ง โครงการนี้เน้นการมีเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเฉพาะท้องถิ่น โดยพระเทพวชิรญาณมีความต้องการที่จะส่งเสริมความรู้ด้านการก่อสร้างให้กับคนในท้องถิ่น ทำให้ฝีมือแรงงานเป็นคนในพื้นที่ทั้งพระเณรและช่างชาวบ้าน ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการทำงานข้อหนึ่ง และมีการกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างที่ต้องเสร็จภายใน 1-2 ปี จากการบริหารจัดการงานก่อสร้างและงานตกแต่งควบคู่กันไปเพื่อให้งานแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้การก่อสร้างประสบปัญหาความล่าช้า จึงทำให้โครงการแล้วเสร็จช้าออกไปอีก 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบก่อสร้างพระธาตุเกษแก้ว มีรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ดูแลรักษาง่าย สร้างได้รวดเร็ว ประหยัด แต่สามารถใช้วัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าร่วมเพื่อทุ่นแรง เพิ่มคุณภาพงาน และสามารถซ่อมบำรุงได้โดยคนในพื้นที่นั้น ด้านงานตกแต่งเน้นความคงทนใช้งานได้นานเพื่อลดภาระด้านการซ่อมแซมและการดูแลรักษาระยะยาวได้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4622
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60053201.pdf20.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.