Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4625
Title: | A STUDY OF IDENTITY IN THAI ARCHITECTURE THROUGH THE CONCEPTS OF TECTONICS AND ATECTONICS การศึกษาอัตลักษณ์ในสถาปัตยกรรมไทยผ่านแนวคิดเทคทอนิคส์และอะเทคทอนิคส์ |
Authors: | Pawornpod BOONRUANGKAO ปวรพชร บุญเรืองขาว Tonkao Panin ต้นข้าว ปาณินท์ Silpakorn University Tonkao Panin ต้นข้าว ปาณินท์ tonkao@su.ac.th tonkao@su.ac.th |
Keywords: | เทคทอนิคส์ อะเทคทอนิคส์ อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย tectonics atectonics identity in thai architecture |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Tectonics is one of the architectural concept used to criticize the expression of architecture. This concept values architecture in which the appearance expresses its relationship to the construction method, material assembly, and truth to material. At the same time, there is a concept that is not well known in architectural theory called Atectonics. It was created as the opposite of Tectonics. Atectonics values architecture that expresses the symbolic communication, emotional reflection and visual psychology
The purpose of this research is to study the development of Tectonicss and Atectonics. Find out why these two concepts were created. Then it is summarized into two new theoretical frameworks to analyze case studies of Thai architecture and synthesize the identity of Thai architecture.
The study of the development of both theoretical frameworks revealed that the concept of Tectonics used to be a concept used to describe architectural expressions with a broad and diverse meaning. But over a period of time, a very specific definition was purposefully created. This led to the creation of a new concept to describe architectural expressions that was not within the framework of Tectonics, namely Atectonics.
By analyzing and synthesizing Thai architecture case studies from Tectonics and Atectonics definition frameworks, the following three results were found.
First, the uniqueness of Thai architecture is rooted in the strong relationship between bamboo, wooden, marsonry architectures. According to Material Transformation conceptual framework, there is a Thai architectural identity that can be seen in the transition of symbolic shapes, familiar beauty and construction culture in the architecture of these three systems.
Second, it was found that there are many characteristics of Thai architecture that express idealistic beauty through important skills and knowledge, namely the understanding of psychology of visual perception.
Third, textures in Thai architecture have an ideological goal of conveying symbols and meanings. Therefore, it is necessary that the surface material be expressed in a dematerialized characteristic. It has to go beyond the basic properties by using the surface handling skills that are the hallmarks of Thai craftsmanship. The purpose is to give the material a new meaning to the architectural surface. แนวคิดเทคทอนิคส์ (Tectonics) เป็นแนวคิดที่ใช้ในการวิพากษ์วิจารณ์ลักษณะภายนอกของสถาปัตยกรรม โดยให้คุณค่ากับสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะภายนอกแสดงออกถึงความสัมพันธ์กับโครงสร้าง วิธีการก่อสร้าง การประกอบกันของวัสดุ และสัจจะวัสดุ ในขณะเดียวกันมีอีกแนวคิดหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในทฤษฎีสถาปัตยกรรม แต่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะเสมือนเป็นแนวคิดคู่ตรงข้ามกับแนวคิดเทคทอนิคส์ คือ แนวคิดอะเทคทอนิคส์(Atectonis) ที่มุ่งให้คุณค่าลักษณะภายนอกของสถาปัตยกรรมในการแสดงออกถึงการสื่อสัญลักษณ์ การสะท้อนอารมณ์ความรู้สึก และจิตวิทยาทางสายตา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของแนวคิดเทคทอนิคส์และอะเทคทอนิคส์ หาเหตุที่ทั้งสองแนวคิดนี้ถูกสร้างขึ้น และสรุปนิยามของ 2 แนวคิดนำไปวิเคราะห์กรณีศึกษาสถาปัตยกรรมไทย เพื่อสังเคราะห์หาอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยในกรอบทฤษฎีใหม่ การศึกษาพัฒนาการแนวคิดทั้งสองในช่วงการทบทวนวรรณกรรมพบว่า แนวคิดเทคทอนิคส์เคยเป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายการแสดงออกของสถาปัตยกรรมที่มีความหมายที่กว้างและหลากหลาย แต่ในช่วงเวลาหนึ่ง นิยามของแนวคิดนี้ถูกสร้างให้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงขึ้นมาอย่างมีจุดประสงค์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดกระบวนการสร้างแนวคิดใหม่ขึ้นมาสรุปเป็นอีกแนวคิดหนึ่ง คือ แนวคิดอะเทคทอนิคส์ เพื่อใช้อธิบายรูปแบบการแสดงออกทางสถาปัตยกรรม ที่ไม่อยู่ในกรอบความหมายของแนวคิดเทคทอนิคส์ที่ถูกนิยามขึ้นมาใหม่ จากการนำเอาสองกรอบนิยามของแนวคิดเทคทอนิคส์และอะเทคทอนิคส์ไปวิเคราะห์และสังเคราะห์หาอัตลักษณ์ในสถาปัตยกรรมไทยได้ข้อค้นพบ 3 ประการ กล่าวคือ ประการที่ 1 อัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทย มีรากฐานสำคัญที่เกิดจากความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นระหว่างสถาปัตยกรรมเครื่องผูก เครื่องสับ และเครื่องก่อ ตามกรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนถ่ายวัสดุ(Material Transformation) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กับแนวคิดอะเทคทอนิคส์ โดยพบว่ามีอัตลักษณ์ที่เห็นได้คือ มีการเปลี่ยนถ่ายของรูปทรงเชิงสัญลักษณ์ การถ่ายเทความงามทางอุดมคติ และวัฒนธรรมการก่อสร้าง ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมทั้ง 3 ระบบนี้ ประการที่ 2 จากการวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดเทคทอนิคส์และอะเทคทอนิคส์ พบว่าสถาปัตยกรรมไทยมีอัตลักษณ์ที่แสดงออกผ่านรูปทรงและความงามในหลายลักษณะที่เกิดจากการใช้ทักษะและความรู้ที่สำคัญของช่างไทยที่ กล่าวคือ ความเข้าใจในจิตวิทยาการรับรู้ทางสายตา และทักษะการสร้างสรรค์รูปทรงเพื่อตอบสนองต่อการรับรู้เชิงทัศนียภาพ ประการที่ 3 การวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดทั้งสอง พบว่าพื้นผิวในสถาปัตยกรรมไทยมีเป้าหมายทางอุดมคติในการสื่อสัญลักษณ์และความหมาย จึงมีความจำเป็นที่วัสดุพื้นผิวต้องแสดงออกในลักษณะที่เกินกว่าคุณสมบัติและลักษณะพื้นฐานของวัสดุที่เลือกใช้(dematerialized) โดยใช้ทักษะการจัดการกับพื้นผิวที่เป็นลักษณะเด่นของงานช่างไทยในการทำให้วัสดุสร้างความหมายใหม่ให้กับพื้นผิวสถาปัตยกรรม เพื่อตอบสนองต่อการสื่อความหมายในระดับต่าง ๆ กันไปกับสังคม จากข้อค้นพบที่กล่าวมา ทำให้ได้กรอบความคิดและคำอธิบายใหม่ในการอธิบายอัตลักษณ์งานสถาปัตยกรรมไทย ที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ไปได้ทั้งทางกว้างและทางลึกทั้งในสาขาวิชาทฤษฎีสถาปัตยกรรม และทฤษฎีสถาปัตยกรรมไทย รวมถึงการนำกรอบความรู้และแนวคิดใหม่ที่ได้ไปต่อยอดกับแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่สัมพันธ์กับรากฐานในอดีต |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4625 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60054903.pdf | 20.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.