Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4637
Title: Trend of New Use from Gentrification Phenomenon :A Study of Rowhouses in Hua Takhe Waterfront Community, Bangkok
แนวโน้มของการใช้งานใหม่ของเรือนแถวริมน้ำชุมชนตลาดหัวตะเข้ กรุงเทพมหานคร จากการศึกษาปรากฎการณ์เจนตริฟิเคชัน
Authors: Suchacree DHIRASEDH
สุชาครีย์ ถิรเศรษฐ์
Peeraya Boonprasong
พีรยา บุญประสงค์
Silpakorn University
Peeraya Boonprasong
พีรยา บุญประสงค์
boonprasong_p@silpakorn.edu
boonprasong_p@silpakorn.edu
Keywords: เรือนแถวริมน้ำ
ชุมชน
หัวตะเข้
การใช้งานใหม่
เจนตริฟิเคชัน
Waterfront Rowhouses
Community
Hua Takhe
reuse
Gentrification
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed to explore role of gentrification affecting to change in architecture, society, and community lifestyles, through trend of new use of existing rowhouses, including analyzing through attitudes of residents and entrepreneurs resulting from gentrification. To discuss on changes of new uses occurring in timber rowhouses, Hua Takhe community, data was collected by fieldwork, interviews, surveys, literature review, and relevant documents. From studying the phenomenon of gentrification, questions arise regarding how this phenomenon and people's attitudes contribute to use transformation of timber rowhouses in the community. In comparative study on buildings that have been repurposed by entrepreneurs, it was found that the gentrification has led to amendments of physical and architecture in through community's usage of space. These changes are intended to accommodate the new usage respond to the trend of nostalgia tourism. Consequently, new activities can emerge to the local that traditionally coexist. It was found that changes in architectural characteristics and usage of timber rowhouses are in line with the objectives of usage that respond to the growth of tourism. When analyzing with methods of changing physical characteristics of the building, it was found that entrepreneurs often repair and renovate buildings similar to the original style - facade and structure. With the idea of façade preservation, the overall environment is consistently maintained with the context while uses maybe varies demonstrating coexistence between entrepreneurs and the people in the community. In summary, attitudes of the entrepreneurs are importantly for the development and preservation of the community, both economically and socially. Through gentrification, good knowledge and understanding of the situation can lead to strong community in terms of harmonization between entrepreneurs and local way of living.
การศึกษาแนวโน้มของการใช้งานใหม่ของเรือนแถวริมน้ำชุมชนตลาดหัวตะเข้ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาปรากฎการณ์เจนตริฟิเคชัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของปรากฎการณ์เจนตริฟิเคชันในการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรม สังคม และวิถีชีวิตในชุมชน ที่ส่งผลถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมจากการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยในงานสถาปัตยกรรม รวมไปถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรม และวิถีชีวิต เพื่อสรุปถึงการปรับเปลี่ยนการใช้งานใหม่ของอาคารเรือนแถวริมน้ำชุมชนตลาดหัวตะเข้ โดยใช้การศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์ และสำรวจ รวมไปถึงการทบทวนวรรณกรรม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากการศึกษาปรากฎการณ์เจนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ปรากฎการณ์เจนตริฟิเคชัน และทัศนคติของคนในชุมชน ส่งผลต่อการปรับปรุงอาคารในชุมชนหัวตะเข้ให้เกิดทิศทางในการใช้สอยใหม่อย่างไร จากการศึกษาเปรียบเทียบจากอาคารที่ได้มีการปรับปรุงใหม่จากผู้ประกอบการจากภายนอกชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชน พบว่าปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของชุมชน และทางสถาปัตยกรรม ให้เกิดการรองรับกับพฤติกรรมการใช้งานใหม่จากผู้เข้ามาใช้งานภายในชุมชน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมในส่วนของพื้นที่การใช้งาน เช่น ร้านอาหาร เกสเฮ้าส์ โรงปฏิบัติการ อาคารอเนกประสงค์ แกลลอรี่แสดงงานศิลปะ และเนื่องจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้งาน เพื่อรองรับกับพฤติกรรมการใช้งานใหม่ของผู้เข้ามาใช้งานภายในชุมชนจากการเข้ามาของวิถีการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต จึงทำให้เกิดกิจกรรม และวิถีชีวิตใหม่ภายในชุมชน พบว่าการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรม และลักษณะการใช้สอยของเรือนแถวไม้ริมน้ำ จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่ตอบสนองต่อการเติบโตของการท่องเที่ยว เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับวิธีการปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพของอาคาร พบว่าผู้ประกอบการมักซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารให้มีลักษณะเปลือกอาคาร และโครงสร้างใกล้เคียงกับรูปแบบเดิม แต่ในการใช้สอยภายในจะมีความแตกต่างกันตามการใช้งาน รวมไปถึงรูปแบบวิถีชีวิต และทัศนคติของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการพยายามรักษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับบริบทเดิม ที่แสดงถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ กับคนในชุมชน และทัศนคติของผู้ประกอบการนั้นมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนา และการอนุรักษ์ชุมชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีผลต่อวิถีชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันภายใต้ความรู้ความเข้าใจในการเกิดปรากฎการณ์เจนตริฟิเคชันในชุมชน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4637
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61052203.pdf16.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.