Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4654
Title: | Experience exchange space : a case study of the southern tea party พื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ : กรณีศึกษาวงน้ำชาภาคใต้ |
Authors: | Purin RUANGHIRAN ปุรินทร์ เรืองหิรัญ Adisorn Srisaowanunt อดิศร ศรีเสาวนันท์ Silpakorn University Adisorn Srisaowanunt อดิศร ศรีเสาวนันท์ adiz_on@yahoo.com adiz_on@yahoo.com |
Keywords: | ร้านน้ำชา ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กลุ่มทางสังคม tea shop social interaction social group |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | in the southern context Especially in the market area of the community, there is one area that is a public area for people to meet and socialize. That is the area "Tea Shop" Tea shop has been a part of southern society for a long time. The tea shop is a space for conversation, meeting, exchanging information, and is an area for people of all genders and ages. Going to chat in a tea shop has different moments for different generations. It can be said that tea shops are in almost every stage of people’s life in the southern region of Thailand. The tea house was just a small space. But instead there are many social groups occurring in this small area. Whether it is a group of friends, a group of professionals, a group of merchants, or even a group of politicians. All come to use the space in the tea shop. The tea shop is not just in the area of any social group. But it appears in many areas of society. As a result, people of all genders, ages and religions come to occupy the floor and create social interactions.
This research focuses on the study of social groups formed within a tea shop. It's spatial relationships and characteristics of social groups. A concept for architectural design should respond to the social, community, city context in the southern region.
From the preliminary research study, Behaviors and relationships of social groups do occur in the tea shop. This results in a unique space. It can be used as a concept and tool for architectural design that responds to the context of the southern people. ในบริบททางภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ในย่านตลาดของชุมชนนั้นมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้คนได้มาพบปะสังสรรค์กัน นั่นคือพื้นที่ “ร้านน้ำชา” ร้านน้ำชาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมชาวภาคใต้มาอย่างยาวนาน ร้านน้ำชานั้นเป็นพื้นที่สนทนา พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเป็นพื้นที่สำหรับคนทุกเพศทุกวัย การไปนั่งพูดคุยกันในร้านน้ำชาก็มีช่วงเวลาที่แตกต่างกันของคนแต่ละช่วงวัย เรียกได้ว่าร้านน้ำชานั้นอยู่ในแทบทุกช่วงชีวิตของคนในพื้นที่ภาคใต้ ร้านน้ำชานั้นเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ แต่กลับพบว่ามีกลุ่มทางสังคมมากมายเกิดขึ้นในพื้นที่เล็กๆแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มพ่อค้า หรือแม้กระทั่งกลุ่มของนักการเมือง ต่างก็เข้ามาใช้พื้นที่ในร้านน้ำชา ร้านน้ำชา นั้นไม่ได้อยู่เพียงแค่ในพื้นที่ของกลุ่มสังคมใดสังคมหนึ่ง แต่กลับมีปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ของสังคม จึงทำให้มีคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา เข้ามาใช้พื้นเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งกันและกัน งานวิจัยฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษากลุ่มทางสังคมที่เกิดขึ้นภายในร้านน้ำชา ลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มทางสังคมและพื้นที่ เพื่อเป็นแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองกับบริบทสังคม ชุมชน เมือง ในพื้นที่ทางภาคใต้ จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยในเบื้องต้นพบว่า พฤติกรรมและความสัมพันธ์ของกลุ่มทางสังคมที่เกิดขึ้นในร้านน้ำชานั้น ส่งผลให้เกิดที่ว่าง (space) ที่มีเอกลักษณ์ สามารถนำไปใช้เป็นแนวความคิดและเครื่องมือในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองกับบริบทของคนภาคใต้ได้ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4654 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640220004.pdf | 11.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.