Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4671
Title: Tripitaka Hall in Lamphun Province : The Study of Art Style and Their Development
หอไตรในจังหวัดลำพูน : รูปแบบศิลปกรรมและพัฒนาการงานช่าง
Authors: Vajaradhon SIMKING
วชรธร สิมกิ่ง
Sakchai Saisingha
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University
Sakchai Saisingha
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
SAISINGHA_S@SU.AC.TH
SAISINGHA_S@SU.AC.TH
Keywords: หอไตร
จังหวัดลำพูน
ศิลปะล้านนา
ชาวไทยอง
ศิลปะไทลื้อ
Tripitaka Hall
Lamphun Province
Lanna art
Yawng people
Lue art
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study of art styles and craftsmanship development of the Tripitaka Hall in Lamphun Province covers 84 sites in 8 districts. These Tripitaka halls were built by various ethnic groups who settled in the area from the 19th Century until present. The study used a comparative analysis of the art forms that appeared compiling with document data and other supporting evidence, including information from interviews with personnel in the area. The hypothesis of the study suggested that these ethnic groups have a way of life, society and culture of their own and respectful believing in Buddhism, the religious sites built therefore should clearly show the characteristics of the group. The goal of this thesis is to study such changes based on their relationship to ethnic groups and the period of construction. The results of the study revealed that the art style of Tripitaka Hall in Lamphun Province is divided into 3 main groups, consisting of Tai Yuan craftsmen who are the indigenous people in the area. This group of craftsmen has evidence of the construction of the Tripitaka Hall since the 19th Century, namely the Tripitaka Hall of Wat Phra That Hariphunchai Woramahawihan, which was developed from the Tripitaka Hall of Wat Phra Singh Woramahawihan in Chiang Mai Province and became a prototype for the Tripitaka Hall built in the 20th Century. The distinctive feature is a two-story half-timbered building, the upper level is a miniature of two porches vihara. The second group is Tai Yawng, an ethnic group who migrated from eastern Shan State, the Republic of the Union of Myanmar. They came to Lamphun Province and settled in Pa Sang, Mueang Lamphun, Ban Hong and Mae Tha District during the year 1796 – 1813 AD. The distinguishing feature of Tripitaka Hall is a two-story cement building and a raised platform in both normal and shed roof which decorated in Tai Lue style roof ridges. The third is the Ban Hong craftsmen group. The Tripitaka Hall of this group built by the Tai Yuan and Tai Yong people who live together in Ban Hong District. The distinctive feature is the combination of the architecture of the temple building and the residence, such as the decoration of the gingerbread stencil which becomes unique in this area. In the part of the development of technicians divided according to the period of construction of the Tripitaka Hall into 3 periods. The first period was in the 19th Century, the Tripitaka Hall of the city temple was built by a group of Tai Yuan craftsmen. The second period was in 20th Century. It was a period of expansion as many as 50 Tripitaka Halls have built. Craftsmanship was develop into a local craftsmen group which specific styles of each area and began to be influenced by Burmese art, traditional Thai art and Western art. At the end of the 20thCentury, folk art was transformed into commercial art under the influence of stateist art. The art styles are modified according to the understanding and popularity of artisans in each area. The third period was after 1957 AD., the commercial Thai art has replaced folk art. Although there was a revival of the old artistic style according to the local trend during the year 1987 - 2006, but the style has been changed to focus on more extravagant decorative arts in buildings. This corresponds to the symbolic value of the Tripitaka Hall, which has changed its role from a building that stores the most important scriptures of Buddhism to the one component of the religious sites of the temple.
การศึกษารูปแบบศิลปกรรมและพัฒนาการงานช่างของหอไตรในจังหวัดลำพูนครอบคลุมหอไตรจำนวน 84 แห่งในพื้นที่ 8 อำเภอ หอไตรดังกล่าวสร้างโดยกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 จนถึงปัจจุบัน การศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏร่วมกับเอกสารและหลักฐานประกอบอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรในพื้นที่ สมมติฐานในการศึกษาเชื่อว่ากลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มีวิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรมเป็นของตนเองและเลื่อมใส ศรัทธาในพุทธศาสนา ศาสนสถานที่สร้างขึ้นจึงแสดงลักษณะเฉพาะของกลุ่มที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลากว่าหนึ่งพุทธศตวรรษที่ผ่านมาทำให้เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชนในพื้นที่จนส่งผลต่อรูปแบบศิลปกรรมและพัฒนาการงานช่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหอไตร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้กำหนดเป้าหมายในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์และช่วงระยะเวลาที่ก่อสร้าง ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบศิลปกรรมของหอไตรในจังหวัดลำพูนแบ่งเป็น 3 กลุ่มช่างหลัก ประกอบด้วยกลุ่มช่างไทยวนซึ่งเป็นชนพื้นถิ่นเดิมในพื้นที่ กลุ่มช่างนี้มีหลักฐานการสร้างหอไตรตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 คือ หอไตรวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารซึ่งพัฒนารูปแบบมาจากหอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ และกลายเป็นต้นแบบให้กับหอไตรที่สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ลักษณะเด่นเป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น, ชั้นบนเป็นวิหารที่มีมุขโถงสองด้านย่อส่วน กลุ่มช่างที่สองคือกลุ่มช่างไทยองซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพจากรัฐฉานตะวันออก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อำเภอป่าซาง อำเภอเมืองลำพูน อำเภอบ้านโฮ่งและอำเภอแม่ทาในช่วงพ.ศ. 2339 – 2356 ลักษณะเด่นของหอไตรเป็นอาคารปูนสองชั้นและอาคารยกพื้นสูง, หลังคาทรงคฤห์และหลังคาทรงโรงมีการประดับสันหลังคาแบบศิลปะไทลื้อ กลุ่มช่างที่สามคือ กลุ่มช่างบ้านโฮ่งซึ่งเป็นหอไตรที่สร้างโดยชาวไทยวนและไทยองที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่อำเภอบ้านโฮ่ง ลักษณะเด่น คือมีการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบอาคารของวัดกับเคหะสถาน เช่น การประดับลายฉลุขนมปังขิงจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ ในส่วนของพัฒนาการงานช่าง แบ่งตามช่วงเวลาที่สร้างหอไตรเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ  ช่วงแรกเป็นช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เริ่มมีการสร้างหอไตรแบบวัดประจำเมืองโดยกลุ่มช่างไทยวน ช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นช่วงขยายตัว มีการสร้างหอไตรจำนวนมากถึง 50 แห่ง งานช่างเริ่มพัฒนาสู่กลุ่มช่างพื้นบ้าน มีการพัฒนารูปแบบเฉพาะของแต่ละพื้นที่และเริ่มรับอิทธิพลจากภายนอกทั้งศิลปะพม่า ศิลปะไทยประเพณี และศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสาน ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ศิลปะพื้นบ้านได้ปรับเข้าสู่ศิลปะเชิงพานิชย์โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมแบบรัฐนิยม รูปแบบศิลปกรรมมีการปรับเปลี่ยนตามความเข้าใจและความนิยมของช่างในแต่ละพื้นที่ หลังปีพ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ศิลปะไทยแบบพานิชย์นิยมได้เข้ามาแทนที่ศิลปะพื้นบ้าน แม้จะมีการรื้อฟื้นรูปแบบศิลปกรรมในยุคเก่าขึ้นมาประยุกต์ตามกระแสท้องถิ่นนิยมในช่วงปีพ.ศ. 2530 – 2549 แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นศิลปกรรมประดับอาคารที่มีความฟุ้งเฟื้อมากขึ้น สอดคล้องกับคุณค่าในเชิงสัญลักษณ์ของหอไตรที่เปลี่ยนบทบาทจากอาคารเก็บพระคัมภีร์สำคัญสูงสุดของพุทธศาสนาเป็นอาคารที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งในศาสนสถานของวัด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4671
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61107209.pdf35.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.