Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4687
Title: Cultural Region Branding for Three Southern Border Provinces: Pattani - Yala - Narathiwat
การสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมเพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัตตานี - ยะลา - นราธิวาส
Authors: Chanokmont RUKSAKIATI
ชนกมณฐ์ รักษาเกียรติ
Yodkwan Sawatdee
ยอดขวัญ สวัสดี
Silpakorn University
Yodkwan Sawatdee
ยอดขวัญ สวัสดี
kru_ton@hotmail.com
kru_ton@hotmail.com
Keywords: แบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรม
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส
Cultural Region Branding
Pattani
Yala
Narathiwat
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to investigate the creation of a cultural region branding for three southern border provinces in Thailand, namely Pattani, Yala, and Narathiwat. The objectives of the study are as follows: 1. To examine the impact of creative economy factors, creative industries, and cultural industries on the cultural region branding of the three provinces statistically. 2. To develop conceptual guidelines for cultural region branding, encompassing the cultural product alignment and context from a community perspective, authentic representation of cultural heritage, diverse community products, avoiding stereotypes, entrepreneurial skills, collaboration with experts, systematic management, and dissemination of knowledge. 3. To develop an assessment toolkit for cultural region branding in the three provinces. The result found that economic factors related to the creative economy, creative industries, and cultural industries significantly influence the cultural region branding of the three southern border provinces, as evidenced by statistical analysis. 2. The conceptual guidelines for cultural region branding encompass several essential aspects. These include the alignment of cultural products with the perspectives of local communities, the authentic representation of cultural heritage, the promotion of diverse community products that avoid creating boundaries, entrepreneurial skills, collaboration with experts, systematic management, and the dissemination of knowledge. 3. The research presents a four-step assessment toolkit for cultural region branding. These steps involve the exploration of the historical background and tea culture in the area, the creation of business models and brand development, the development of manuals and design presentations, the formulation of brand creation strategies and design concepts, and the collection of feedback from local residents and target groups.
การวิจัยเรื่องการสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมเพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: ปัตตานี - ยะลา - นราธิวาส มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมที่มีผลต่อแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมเพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัตตานี - ยะลา - นราธิวาส 2. เพื่อพัฒนาข้อกำหนดทางความคิดในการสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรม (Cultural Region Branding) เพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  3. เพื่อพัฒนาชุดแบบประเมินการสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรม (Cultural Region Branding) เพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการวิจัย พบว่า 1.ปัจจัยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ปัจจัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และปัจจัยอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเป็นแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรมของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ข้อกำหนดทางความคิดในการสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรม (Cultural Region Branding) ประกอบไปด้วย ความสอดคล้องกันของผลิตภัณฑ์และบริบททางวัฒนธรรมจากมุมมองจากชุมชน การเป็นตัวแทนเชิงวัฒนธรรมที่แท้จริงจากมุมมองของชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอความหลากหลายในชุมชนและค่านิยมที่ไม่ทำให้เกิดกลุ่มชายขอบ ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ทักษะการบริหารจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้อย่างเป็นระบบ และ 3.การพัฒนาชุดแบบประเมินการสร้างแบรนด์ภูมิภาคเชิงวัฒนธรรม (Cultural Region Branding) เพื่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน อันได้แก่ ขั้นตอนที่ 1. การค้นหาประวัติความเป็นมาของชาและสำรวจธุรกิจร้านน้ำชาในพื้นที่ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบจำลองธุรกิจและการสร้างแบรนด์ ขั้นตอนที่ 3 ที่เป็นส่วนของคู่มือและผลงานการออกแบบ กลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์และขั้นตอนแนวความคิดในการออกแบบ และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอผลงานการออกแบบอัตลักษณ์และรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4687
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60158905.pdf8.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.