Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4692
Title: Managing Creative Space using Design Strategies to PromoteCultural Tourism of Communities in Phitsanulok Province
การจัดพื้นที่สร้างสรรค์โดยใช้กลยุทธ์การออกแบบเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก
Authors: Prattana SIRISAN
ปรารถนา ศิริสานต์
Pensiri Chartniyom
เพ็ญสิริ ชาตินิยม
Silpakorn University
Pensiri Chartniyom
เพ็ญสิริ ชาตินิยม
CHARTNIYOM_P@SU.AC.TH
CHARTNIYOM_P@SU.AC.TH
Keywords: กลยุทธ์การออกแบบ
พื้นที่สร้างสรรค์
การมีส่วนร่วมกับชุมชน
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,
ชุมชนราชพฤกษ์
ชุมชนวิเศษไชยชาญ
ชุมชนวิสุทธิกษัตริย์
ชุมชนรถไฟสามัคคี
พิษณุโลก
Culture
Design Strategies
Creative Space
Community Participation
Cultural Tourism
Ratchaphruek Community
Wisetchaichan Community
Wisutkasat Community
Rotfaisamakee Community
Phitsanulok
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research of Managing Creative Space using Design Strategies to Promote Cultural Tourism of Communities in Phitsanulok Province has its objectives as followings: 1. Study the lifestyle, wisdom culture and artistry of communities in Phitsanulok province for creating creative space. 2. Knowledge creation of making creative space based on community participation and shared ideas on the benefits of cultural tourism. 3. Managing creative space by intregrated design strategies to achive the cultural tourism of Phitsanulok province. Participatory action research was used in this research as community coworking framework. Ratchaphruek Community, Wisetchaichan Community, Wisutkasat Community and Rotfaisamakee Community in Muang district of Phitsanulok province are the target areas of ​​this research. Qualitative data analysis was used in this research to developed “SPACE – TID – PHITSANULOK” strategy to push on Phitsanulok cultural and creative space. This research used theoretical review of revitalization the benefit of community cultural lifestyle and sourcing the identity of a multiculture in the research area as Thai Muslim, Thai Chinese and Thai Christ. Concept of creating creative space had been concluded by community lifestyle is a communities decision. Creative space creation has 7 activities; 1) Awakening PHS Talk 2) Inspired by SALAM ART 3) Identity of PHS 4) Do it Art in Lan Ta Kaw 5) Mixed Culture Photo Contest 6) Story of Areas PHS and 7) Travel Locally and Coffee Connect. The working is of 28 months in total during November 2020 to February 2023, in communities of Phitsanulok. The result has performed 4 creative space areas, 3 community seminars, 4 community workshops, 3 community exhibitions, 10 art activities, 5 community products, including media, books, community map and community tourism route. Process of this research carried out a collaboration of 8 community leaders, 12 artists and designers and 19 public and private network participation groups. This research has created a shared understanding of people both the communities and from visitors, created a worthiness awareness of the community culture. The end result has shown several developed creative space, improve the quality of life of people in communities, raise up the community economy to the locals, encouraging Phitsanulok province the potential of being creative city, and promote the cultural tourism for visitors.
การจัดพื้นที่สร้างสรรค์โดยใช้กลยุทธ์การออกแบบ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาวิถีชุมชน การดำเนินชีวิต ภูมิปัญญา วัฒนธรรมและศิลปกรรมของชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อการจัดพื้นที่สร้างสรรค์ 2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการสร้างพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมชุมชน โดยใช้กระบวนการที่ยึดถือการมีส่วนร่วมกับชุมชน และผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมร่วมโดยมุ่งเน้นประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3. เพื่อสร้างพื้นที่กิจกรรมผ่านกลยุทธ์การออกแบบสร้างสรรค์ เป็นแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การดำเนินงานร่วมกับชุมชนเป็นหลัก พื้นที่เป้าหมายของโครงการคือ 1. ชุมชนราชพฤกษ์ 2. ชุมชนวิเศษไชยชาญ 3. ชุมชนวิสุทธิกษัตริย์ และ 4. ชุมชนรถไฟสามัคคี ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและพัฒนาเป็นกลยุทธ์การสร้างพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมชุมชนเมืองพิษณุโลก SPACE – TID – PHITSANULOK “สเปสติสท์ พิษณุโลก” เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ของเมือง การดำเนินงานใช้หลักการรื้อฟื้นคุณค่าความสำคัญของวิถีชุมชน และค้นหาอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมผสมผสานแบบไทยมุสลิม ไทยจีน และไทยคริสต์ ของทั้ง 4 ชุมชน ข้อสรุปของชุมชน คือ ความต้องการรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับในวิถีการดำเนินชีวิตปัจจุบัน การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมชุมชน ประกอบด้วยการปฏิบัติกิจกรรมจำนวน 7 กิจกรรม คือ 1) Awakening PHS Talk 2) Inspired by SALAM ART 3) Identity of PHS 4) Do it Art in Lan Ta Kaw 5) Mixed Culture Photo Contest 6) Story of Areas PHS และ 7) Travel Locally and Coffee Connect ผลการดำเนินงาน สามารถสร้างกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมใน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในช่วงเวลาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลา 28 เดือน มีการพัฒนาพื้นที่ให้รองรับกิจกรรมได้ 4 พื้นที่ มีกิจกรรมเสวนา 3 ครั้ง มีงานอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 ครั้ง งานแสดงนิทรรศการ 3 ครั้ง ผลิตภัณฑ์ชุมชน 5 ประเภท กิจกรรมศิลปะ 10 บูทกิจกรรม สื่อวีดิทัศน์ หนังสือ  แผนที่ชุมชน และเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน การดำเนินงานนี้สร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชนได้ 8 คน ศิลปินและนักออกแบบ 12 คน ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน 19 หน่วยงาน งานวิจัยนี้ได้สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันทั้งคนภายในชุมชนและผู้มาเยือน สร้างความภาคภูมิใจในคุณค่าและการรับรู้วิถีวัฒนธรรมในพื้นที่ ผลลัพธ์ของโครงการ คือ สามารถขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะและวัฒนธรรมชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น ผลักดันให้จังหวัดพิษณุโลกมีศักยภาพเป็นเมืองสร้างสรรค์ได้ และสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผู้มาเยือน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4692
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61158904.pdf27.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.