Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4741
Title: DEVELOPMENT OF THE BELIEF IN THE FUTURE BUDDHA: PHRA SRI AN IMAGES
พัฒนาการของคติความเชื่อเรื่องพระอนาคตพุทธเจ้า: รูปพระศรีอาริย์
Authors: Chanisa NAKNOY
ชนิสา นาคน้อย
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University
SAKCHAI SAISINGHA
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
SAISINGHA_S@SU.AC.TH
SAISINGHA_S@SU.AC.TH
Keywords: พระศรีอาริย์
อนาคตพุทธเจ้า
ศิลปกรรม
Phra Sri An
The Future Buddha
Fine Arts
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The belief in Phra Sri An, the Future Buddha, emerged from Buddhist canonical texts and literature. Buddhist texts have made the Future Buddha widely known and popular until present. Phra Sri An will descend on earth in the distant future to achieve enlightenment and to create the ideal world of spiritual happiness everyone aiming at. In order to be reborn in the era of Phra Sri An, one needs to make merits, and that has become traditional among the Buddhists. Artworks, created from the popularity of Phra Sri An, is rooted in Buddhist literature. According to Traibhumikatha, the story of Phra Malai and the Legend of the White Crow, Phra Sri An, appearing as Bodhisattava, was adorned with Devada costume. In addition, Phra Sri An was also depicted as a disciple in monk’s robe with monk’s fan. His disciple image either might be traced back to his previous life when he was born as Phra Ajita or might relate to the image of Phra Malai. However, in documentary evidences and on the inscriptions found at the bases of Buddha scultures, Phra Sri An holding monk’s fan already appeared in the reign of King Rama I of the Rattanakosin period. From then on, the production of the Phra Sri An in disciple form has been continued with corresponding development of style to that of Buddha images in chronological timeline. Analysis of the belief in Phra Sri An, from the angle of sculpture, reflects the production period and distribution of the Future Buddha’s visual images from the capital to other cities. As a result, not only the belief in the Future Buddha had been inherited but also the production of the images of Phra Sri An at Wat Lai had become popular since the reign of King Rama V. In terms of problem in differentiation between Phra Sri An and Phra Malai, history, possibilities, documentary evidences and statistics from inscriptions found on Phra Sri An images were taken into account for consideration. It could be concluded that Phra Sri An holding monk’s fan which were produced in the reign of King Rama III onwards, should be categorized as Phra Sri An not Phra Malai. The study of beliefs in the Past Buddha and the Future Buddha also helps differentiating between adorned Phra Sri An and the adorned Buddha. The development in group production of adorned Phra Sri An, focusing on the Devada form, reveals an intention to show the difference between Phra Sri An and the adorned Buddha. Later on, the Legend of the White Crow also created iconographic element(s) for Phra Sri An. Iconographic animal(s?) was/were assigned to Phra Sri An, marking the starting point of a clear differentiation between Phra Sri An and the adorned Buddha. Nevertheless, inscriptions still play an important and the best role in identifying the Future Buddha.
คติความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์มีที่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และวรรณกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรื่องพระศรีอาริย์เป็นที่รู้จัก และทำให้ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน เป็นการเล่าถึงโลกอนาคตในยุคที่พระองค์จะลงมาตรัสรู้ ซึ่งประกอบไปด้วยความสุขสมบูรณ์อย่างโลกในอุดมคติที่ทุกคนมุ่งหวัง ซึ่งในงานวรรณกรรมนั้นได้กล่าวถึงวิธีการกระทำบุญเพื่อไปสู่ยุคพระศรีอาริย์และทำให้เกิดเป็นประเพณีสืบมาถึงปัจจุบัน ความนิยมในคติพระศรีอาริย์ส่งผลให้เกิดงานศิลปกรรมขึ้น มีที่มาจากงานวรรณกรรม เช่น เรื่องไตรภูมิกถา เรื่องพระมาลัย และตำนานพญากาเผือก ซึ่งแสดงรูปพระศรีอาริย์ในฐานะพระโพธิสัตว์มีลักษณะสวมเครื่องทรงอย่างเทวดา นอกจากนี้ยังมีรูปแบบพระศรีอาริย์ครองจีวรถือตาลปัตรอย่างพระสาวกอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจมีที่มีจากพระอดีตชาติครั้นเป็นพระอชิต หรืออาจเป็นการใช้รูปแบบของพระมาลัย แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานเอกสารและจารึกส่วนฐานพระสามารถระบุได้ว่าการสร้างรูปพระศรีอาริย์เป็นภิกษุถือตาลปัตรมีมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีการสร้างต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีพัฒนาการทางรูปแบบสอดคล้องกับพระพุทธรูปในสมัยต่างๆ การวิเคราะห์คติเรื่องพระศรีอาริย์จากงานประติมากรรมทำให้เห็นถึงช่วงเวลาการสร้างรูปพระศรีอาริย์ และการแพร่หลายของรูปพระศรีอาริย์ที่มีการส่งต่อจากเมืองศูนย์กลางไปยังหัวเมืองต่างๆ ในด้านรูปแบบ และมีการสืบทอดคติเรื่องพระอนาคตพุทธเจ้าที่มีมาอย่างยาวนาน รวมทั้งกระแสการสร้างรูปพระศรีอาริย์ วัดไลย์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในประเด็นปัญหาการจำแนกระหว่างรูปพระศรีอาริย์ภิกษุกับรูปพระมาลัย เมื่อศึกษาถึงที่มาและความเป็นไปได้ รวมถึงหลักฐานเอกสารและจารึกที่ระบุการสร้างรูปพระศรีอาริย์ในเชิงสถิติแล้ว นับว่ารูปพระศรีอาริย์ถือตาลปัตรที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ลงมาควรเป็นรูปพระศรีอาริย์ และการจำแนกรูปพระศรีอาริย์ทรงเครื่องอย่างเทวดากับพระพุทธรูปทรงเครื่อง เมื่อศึกษาถึงคติพระพุทธเจ้าในอดีตและพระพุทธเจ้าในอนาคต รูปพระศรีอาริย์มีพัฒนาการในการสร้างแบบกลุ่มซึ่งจะแสดงในรูปแบบเทวดาเพื่อให้แตกต่างกับพระพุทธรูปที่ได้ลงมาตรัสรู้แล้ว จนต่อมามีการสร้างสรรค์สัญลักษณ์ซึ่งมีที่มาจากตำนานพญากาเผือก ทำให้มีการประดับสัตว์สัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกถึงรูปพระศรีอาริย์ได้ชัดเจนขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบพระศรีอาริย์ที่แตกต่างจากพระพุทธรูปทรงเครื่อง แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานการจารึกยังสำคัญและสามารถบ่งบอกได้ดีที่สุด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4741
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58107801.pdf24.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.