Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4743
Title: A Study of Setting-Up Entertainment and Wellness Services on Digital Platform for Elderly
การศึกษาแนวทางจัดตั้งบริการด้านสื่อบันเทิงและด้านสุขภาพบนแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ
Authors: Krittisak POOLSAWAT
กฤษติศักดิ์ พูลสวัสดิ์
Saksit Rachruk
ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์
Silpakorn University
Saksit Rachruk
ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์
dr.saksit24@gmail.com
dr.saksit24@gmail.com
Keywords: สังคมผู้สูงอายุ
เศรษฐกิจสูงวัย
สมาร์ทโฟน
ผู้สูงอายุ
บริการด้านสื่อบันเทิง
บริการด้านสุขภาพ
แพลตฟอร์มดิจิทัล
แอปพลิเคชัน
Aging Society
Silver Economy
Smartphone
Elderly
Entertainment Service
Wellness Service
Digital Platform
Application
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is entitled “A STUDY OF SETTING-UP ENTERTAINMENT AND WELLNESS SERVICES ON DIGITAL PLATFORM FOR ELDERLY”.  And it is aimed to 1) Study General Information, Behavior, Attitude, and the Service Marketing Mix-7Ps that affecting the digital platform/application usage for elderly.  2) Study problems and constraints that affecting the digital platform/application business through SWOT Analysis and Forces.  3) Propose a business model for entertainment and wellness services on digital platform/application for elderly.  The research had been conducted by using mixed method; quantitative and qualitative approaches.  For the quantitative research, the data were collected from the sample size of 400 Thai citizens (Taro Yamane, 1973) whose age from 50-year-old up, and using smartphone.  Quantifying of data through statistical analysis like Frequencies Distribution, Percentage, Mean, Standard Deviation and Hypothesis Test by using technical analysis of variance, One-way ANOVA.  And for the qualitative research, the data were collected through in-depth interviewing with scholars and experts about elderly, including entrepreneur, executive, and developer of digital platform/application. The results of the Quantitative Research found that most of the respondents were female, 315 out of 429 representing 73.4 %, were aged 50-74, had a monthly income of no more than 30,000 baht, were familiar with technology and using social media on a daily basis.  LINE, facebook, and YouTube were the most popular digital platforms be consecutively used to search information for traveling, healthcare, music and entertainment activities. The reason for using those digital platforms/applications is because of family members also using; and most of them preferred Freemium package.  Making comparative analysis among the factors according to the Service Marketing Mix Theory (7Ps), it found that all factors; Product, Price, Place, Promotion, People, Process, and Physical Evidence had “High” level of opinion as the factors that affecting the elderly’s decision making to use digital platform/application.  While the difference of Gender and Educational Level did not give any affect; but Age, Occupation, and Income had a significant affect at 0.05 statistics on the elderly’s decision making to use digital platform/application.  And from the Qualitative Research found that digital platform/application which is suitable for the elderly should be designed on the principles of simply to use, not complicated, large fonts, not too much flashy, and Elder-Friendly oriented.  It should also have clear classification/category of contents for easier searching, can be used on smartphone, and last but not least the service fee or charge must not be too high. 
การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางจัดตั้งบริการด้านสื่อบันเทิงและด้านสุขภาพบนแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไป พฤติกรรม ทัศนคติ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ที่ส่งผลต่อการใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน ในกลุ่มผู้สูงอายุ 2) ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร ตลอดจนแรงกดดันที่ส่งผลต่อธุรกิจ แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน 3) จัดทำแผนธุรกิจการให้บริการด้านสื่อบันเทิงและด้านสุขภาพบน แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน สำหรับผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประชากรไทย ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป และใช้โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน จำนวน 400 ราย ด้วยสูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973) วิเคราะห์ข้อมูลและคำนวณค่าทางสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้พัฒนา แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน จากผลของการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง จำนวน 315 จาก 429 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.4 อายุระหว่าง 50-74 ปี มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน นิยมใช้ แอปพลิเคชัน ไลน์ เฟซบุ๊ก และ ยูทูบ ตามลำดับ เพื่อค้นหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การดูแลรักษาสุขภาพ และเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมทางด้านบันเทิง (ฟังดนตรี/ฟังเพลง) โดยมีบุคคลในครอบครัวแนะนำให้ใช้ ส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน ที่ต้องเสียค่าสมาชิก และเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยแต่ละด้านตามทฤษฎีส่วนประสมการตลาดบริการ พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์, ราคา, สถานที่, การส่งเสริมการขาย, คน, กระบวนการ, องค์ประกอบทางกายภาพ มีระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยที่ส่งผลอยู่ในเกณฑ์ “มาก” เหมือนกันทุกปัจจัย โดยที่ เพศ และ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน ไม่ส่งผล แต่ อายุ อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน ส่งผล ต่อการตัดสินใจใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ 0.05 และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า แพลตฟอร์มดิจิทัล/แอปพลิเคชัน ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ควรออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ สีสันไม่ฉูดฉาด มีความเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ มีการจัดประเภทและหมวดหมู่ที่ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา สามารถใช้งานได้กับโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน และสิ่งสำคัญที่มิอาจมองข้าม คือ อัตราค่าบริการที่ต้องไม่สูงจนเกินไป  
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4743
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621030001.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.