Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4757
Title: THE DEVELOPMENT OF THE SALT FARM COMMUNITY MANAGEMENTMODEL AS TOURISM DESTINATION IN PHETCHABURI PROVINCE
การพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี
Authors: Sirintorn PHONGHA
ศิรินทร พงษ์หา
Wannawee Boonkoum
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
Silpakorn University
Wannawee Boonkoum
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
BOONKOUM_W@SU.AC.TH
BOONKOUM_W@SU.AC.TH
Keywords: การจัดการ/ การท่องเที่ยวชุมชน/ ชุมชนนาเกลือ
MANAGEMENT/ COMMUNITY TOURISM/ SALT FARM COMMUNITY
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were to: 1) study the condition of being salt farm community tourist attraction as tourism destination in Phetchaburi province; 2) develop the management model of salt farm community as a tourism destination in Phetchaburi province; and 3) certify the management model of salt farm community as a tourism destination in Phetchaburi province. The search was conducted with the Research and Development method (R&D). The area studied was salt farm community in Phetchaburi, including 5 sub-districts; Ban Laem, Bang Khun Sai, Bang Kaew, Laem Pak Bia and Pak Thale in Ban Laem District which has an area adjacent to the Gulf of Thailand and has the largest salt farming area in Thailand. Key informants in the study were: 1) entrepreneurs, people in the area and community leaders a total of 20 people. The data were collected through observation and interviews; 2) 30 tourists  collected data by questionnaire; 3) 10 community leaders, data were collected through in-depth interviews ; 4) 25 community leaders and stakeholders in community forum, collected data from January 2021 - November 2022. Quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and qualitative data were analyzed by content analysis. The findings showed: 1) the tourist attraction of salt farm community in Phetchaburi was an area with potential. Outstanding for having unique tourism resources, wisdom in salt farming. There were abundant natural resources in mangrove forests. There was conservation area for seabirds and migratory birds. There was a way of life in the seaside community. Each aspect could be promoted as a tourism activity that could generate more income for people in the community from their main occupations. Information from the interviews indicated that the participation of all sectors in the management of tourist attractions should be encouraged, as well as raising awareness and understanding of sustainable tourism development of the salt farm community in Phetchaburi province; 2) the management model of salt farm community as tourism destination in Phetchaburi province, the researcher developed was the APPA MAC Model, which has 7 main components; 1) A = Awareness; 2) P = Participative Management; 3) P = Planning to Sustainability; 4) A = Amenities; 5) M = Man; 6) A = Attraction; 7) C = Coordinating. The developed model emphasized community participatory management; 3) results of evaluating and certifying the sea salt community management model as tourism destination in Phetchaburi province by experts was suitable for use at a high level, and the satisfaction assessment of the sea salt community management model as tourism destination in Phetchaburi province as a whole by community leaders and stakeholders were at the highest level. All 5 experts certified that the management model could be used as a guideline for developing the sea salt community management model as tourism destination in Phetchaburi province.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อรับรองรูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา พื้นที่ที่ศึกษาคือชุมชนนาเกลือจังหวัดเพชรบุรี อำเภอ บ้านแหลม ประกอบด้วย 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร ตำบลบางแก้ว ตำบลแหลมผักเบี้ย และตำบลปากทะเล ที่มีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทยและมีการทำนาเกลือใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาคือ 1) นักท่องเที่ยว จำนวน 30 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2) ผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่ และผู้นำชุมชน จำนวน 20 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึก 3) ผู้นำชุมชนและผู้นำกลุ่มอาชีพ จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือประเด็นสัมภาษณ์ 4) ผู้นำชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 25 คน ในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือนมกราคม 2564 - พฤศจิกายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลจากการศึกษาพบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวชุมชนนาเกลือจังหวัดเพชรบุรีเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพโดดเด่น เรื่องการมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ มีภูมิปัญญาการทำนาเกลือ มีทรัพยากรทางธรรมชาติด้านป่าชายเลน ที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่อนุรักษ์นกทะเลและนกอพยพ มีวิถีชีวิตชุมชนชาวเล ซึ่งแต่ละด้านสามารถส่งเสริม ให้เกิดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนเพิ่มมากขึ้นจากการประกอบอาชีพหลัก ผลจากการศึกษายังพบว่า ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างความตระหนักรับรู้ และความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนนาเกลือจังหวัดเพชรบุรี 2) รูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือ สู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คือ APPA MAC Model มีองค์ประกอบหลัก 7 ด้านโดยที่ A คือ Awareness (ความตระหนัก) P คือ Participative Management (การจัดการแบบมีส่วนร่วม) P คือ Planning to Sustainability (การวางแผนสู่ความยั่งยืน) A คือ Amenities (สิ่งอำนวยความสะดวก) M คือ Man (คน) A คือ Attraction (สิ่งดึงดูดใจ) C คือ Coordinating (การประสานงาน) โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้เน้นการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และผลการประเมินรูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน อยู่ในระดับมาก 3) ผลการรับรองรูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบุรี ดังต่อไปนี้ 3.1) ผลการประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีในภาพรวม โดยกลุ่มผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.52 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 3.2) ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อรูปแบบการจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ทุกท่านให้การรับรองรูปแบบที่พัฒนาขึ้นว่าสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การจัดการชุมชนนาเกลือสู่การเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีได้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4757
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59260910.pdf7.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.