Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4782
Title: EFFECTS OF LEARNING MANAGEMENT VIA EXPERIENTIAL LEARNING APPROACH ON SOCIAL CONSCIOUSNESS FOR UNDERGRADUATE DEGREE STUDENTS, BACHELOR OF EDUCATION (SOCIAL STUDIES)
ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อจิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษา
Authors: Suntorn ONRIT
สุนทร อ่อนฤทธิ์
Chairat Tosila
ชัยรัตน์ โตศิลา
Silpakorn University
Chairat Tosila
ชัยรัตน์ โตศิลา
TOSILA_C@SU.AC.TH
TOSILA_C@SU.AC.TH
Keywords: แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์
จิตสำนึกทางสังคม
Experiential Learning Approach
Social Consciousness
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aimed to: 1) compare the social consciousness of undergraduate students in social studies before and after learning management via the experiential learning approach. and 2) study the social consciousness of undergraduate students in social studies via the experiential learning approach. This sample was undergraduate students in 3rd year of Social Studies, Faculty of Humanities and Social Sciences, Thepsatri Rajabhat University, a total of 26 persons by cluster random sampling method.  The research tool was the international society active learning course coexistence learning Unit via experiential learning approach and measuring social consciousness. The data was analyzed by mean, standard deviation, and t-test dependent. The research findings were summarized as follows: 1. The social consciousness of undergraduate students in social studies after using the experiential learning approach was higher than at a .05 significance level. 2. The arithmetic mean of social consciousness of undergraduate students in social studies after using the experiential learning approach was at a good level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบจิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และ 2) ศึกษาจิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 26 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาความเป็นสกลทรรศน์ หน่วยการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และแบบวัดจิตสำนึกทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. จิตสำนึกทางสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4782
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640620006.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.