Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4805
Title: Guidelines for Ancient Market Community Revitalization with Sustainable Tourism Promotion : A Case Study of Chum Saeng’s 100-Year-Old Market
แนวทางการฟื้นฟูตลาดเก่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง
Authors: Rattana KARAKES
รัตนา การะเกษ
Kamthorn Kulachol
กำธร กุลชล
Silpakorn University
Kamthorn Kulachol
กำธร กุลชล
Archktk@hotmail.co.th
Archktk@hotmail.co.th
Keywords: การฟื้นฟู
ตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง
พื้นที่ตลาด
Revitalization
Chum Saeng’s 100-Year-Old Market
Market Area
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aims to realize that the conservation of Chum Saeng’s 100-Year-Old Market has historical and cultural significance to offer suggestions for a development plan for Chum Saeng’s 100-year-old market. To revitalize the community economy and be the guidelines for the Physical Environment inheritance of Chum Saeng’s 100-year-old market not to gradually disappear. Based on this purpose, three research tools were adopted for data collection which includes 1) questionnaire 2) interview, and 3) observation. These research tools permitted this present study to attain both quantitative and qualitative data.  Following the data collection, statistical analysis of the data has been taken to interpret the needs of residents, customers, and the activities provided at Chum Saeng’s 100-year-old market. The results of this study revealed that revitalization with sustainable tourism promotion: a case study of Chum Saeng’s 100-Year-Old Market has merchants, people, and tourists answer the questionnaire. The respondents further implied that they were satisfied with services ranging from an average to a high level, especially with regard to market services, Chum Saeng’s 100-year-old market’ community involvement, cultural value appreciation, and management. However, the respondents gave an average satisfaction for supporting staff and public relations. The respondents also demonstrated that they have the least satisfaction in using services at the old market due to insufficient car parking area and limited products in the market. Based on the results, shown guidelines for ancient market community revitalization with sustainable tourism promotion: A case study of Chum Saeng’s 100-Year-Old Market such as 1) organizing a wider range of activities and such activities should covey the unique physical and cultural features of Chum Saeng’s 100-year-old market. Offering alternative choices for tourists’ attractions is believed to increase the number of visitors into the old market leading to a better stimulation of the economy at Chum Saeng’s 100-Year-Old Market. 2) organizing activities that revive the way of life. Water travel should be initiated to present cultural tourism both in Chum Saeng District and nearby areas. Activities such as boat trips to see the beautiful nature on both sides of the Nan River, visiting self-sufficient businesses of Chum Saeng people, or boat trips to pay homage to the Buddha, etc. and 3) future studies in this area should be conducted for an in-depth analysis to determine the potential areas for conservation and development. As a point of significance, there should be encouragement to communities, public agencies, and private sectors to get involved in improving and upgrading the tourism of Chum Saeng’s 100-year-old market.
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง ที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง ที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชนในท้องถิ่น เพื่อชี้แนะแนวทางในการสืบทอดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง มิให้เสื่อมสลายไป โดยใช้เครื่องมือ 3 อย่าง ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) การสัมภาษณ์ และ 3) การสังเกตการณ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความต้องการของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ตลาด กลุ่มผู้ที่เข้ามาใช้บริการของตลาดและกิจกรรมในพื้นที่ตลาด จึงได้ผลการวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบของข้อมูลทางสถิติเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า การฟื้นฟูตลาดเก่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง นั้น มีผู้ประกอบการค้า ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวตอบแบบสอบถามและให้ความคิดเห็นส่วนใหญ่ไม่พบปัญหาที่สำคัญในการเข้ามาใช้บริการ โดยสิ่งที่ได้รับความพึงพอใจในระดับปานกลางถึงระดับมากคือ ด้านการบริการของตลาด ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม และด้านบริหารจัดการ สิ่งที่ได้รับความพึงพอใจในระดับปานกลางคือด้านเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและด้านการประชาสัมพันธ์ และสิ่งที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดที่จอดรถให้เพียงพอและความสนับสนุนในการจำหน่ายสินค้าบางประเภท จากการศึกษาวิจัย มีข้อเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูตลาดเก่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง ได้แก่ 1) ควรจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่หลากหลายยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมบริการของตลาด โดยสื่อถึงจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ทางกายภาพและวัฒนธรรมของตลาดเก่าแห่งนี้ เพื่อเป็นทางเลือกและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนตลาดเก่า 100 ปี ชุมแสง ได้ดียิ่งขึ้น 2) ควรริเริ่มกิจกรรมที่รื้อฟื้นวิถีชีวิตและการสัญจรทางน้ำ โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งในอำเภอชุมแสงและบริเวณใกล้เคียง เช่น กิจกรรมล่องเรือชมธรรมชาติที่งดงามบนสองฝั่งแม่น้ำน่าน เยี่ยมชมธุรกิจแบบพอเพียงของชาวชุมแสง ล่องเรือไหว้พระ เป็นต้น และ 3) ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรเจาะลึกเพื่อกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการอนุรักษ์และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา โดยเปิดให้ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง เพื่อสร้างความร่วมมือในการปรับปรุงแก้ไขและยกระดับการท่องเที่ยวของชุมชนตลาดเก่าชุมแสงให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4805
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61058315.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.