Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4813
Title: GUIDELINES OF MANAGEMENT FOR THE HISTORY MUSEUM OF ROYAL INNER COURT IN SUAN SUNANDHA: A CASE STUDY OF H.H. PRINCESS SAISAVALI BHIROMYA, PRINCESS SUDDHASININART MANSION
แนวทางการจัดพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ราชสำนักฝ่ายในสวนสุนันทากรณีศึกษาตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
Authors: Chanaphop VANNAOLARN
ชนะภพ วัณณโอฬาร
Kannika Suteerattanapirom
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
Silpakorn University
Kannika Suteerattanapirom
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
nnikas@hotmail.com
nnikas@hotmail.com
Keywords: คุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม
บ้านประวัติศาสตร์
การจัดพิพิธภัณฑ์
CULTURAL RESOURCE EVALUATION
HISTORICAL RESIDENCE
MUSEUM MANAGEMENT
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract:        The objective of this study aimed to provide the guidelines for exhibit development at Sai Suddha Nobhadol museum or H.H. Princess Saisavali Bhiromya, Princess Suddhasininart mansion inside Suan Suanandha Rajabhat University. The data of this study were collected by using the concept of the exhibit in historic house museum, the concept of the cultural resource evaluation, collecting data from field study, museum, historical document, including the studying from model museum, and interviewing participant in the museum.        The result of this study revealed that Sai Suddha Nobhadol museum, or H.H. Princess Saisavali Bhiromya, Princess Suddhasininart mansion was the historic house museum which showed stories about 2 important historical figures; H.H. Princess Saisavali Bhiromya, Princess Suddhasininart, the royal consort of King Rama V, and Her Royal Highness Princess Nibhanobhadol, Princess of Udong, the daughter of King Rama V. The study on the cultural resource evaluation of Sai Suddha Nobhadol museum found 4 important cultural resources which were in historic, aesthetic, academic and social terms. For the findings of the studying from model museum, and interviewing participant in the museum can provide 2 guidelines for exhibit development at Sai Suddha Nobhadol museum which were 1) exhibit outside the museum by restoring outside related to historical document 2) exhibit inside the museum by displaying all replica chambers inside as if the masters were still alive, and related to the concept of the exhibit in historic house museum.
       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล ตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้แนวคิดในการจัดพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์ และแนวคิดการประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม และการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ ประกอบกับการศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ และการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์        ผลการศึกษาพบว่า พิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทานภดล หรือตำหนักพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์ มีการจัดแสดงเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ 2 ท่าน คือ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ซึ่งจากการประเมินคุณค่าทรัพยากรวัฒนธรรม พบว่าพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล มีทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ 4 ด้าน คือ ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ ความสำคัญเชิงสุนทรียศาสตร์ ความสำคัญเชิงวิชาการ และความสำคัญเชิงสังคม และจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ และการศึกษาพิพิธภัณฑ์ต้นแบบ สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดลได้ 2 ส่วน คือ การจัดแสดงภายนอกพิพิธภัณฑ์ โดยการคืนสภาพเดิมให้เหมือนกับในอดีตตามข้อมูลประวัติศาสตร์ และการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ ในลักษณะการจำลองห้องที่ประทับในอดีต เสมือนเจ้านายยังคงมีพระชนม์ชีพ ตามแนวคิดการจัดพิพิธภัณฑ์ประเภทบ้านประวัติศาสตร์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4813
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59112305.pdf12.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.