Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4816
Title: ANCIENT THAI MIRROR (KRIAB MIRROR) IN THAI ARTISTRY : MANUFACTURING TECHNIQUE AND CONSERVATION 
งานช่างกระจกเกรียบในศิลปกรรมไทย : เทคนิควิธีการผลิตและการอนุรักษ์
Authors: Ratchapon TAJAYA
รัชพล เต๋จ๊ะยา
Sakchai Saisingha
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University
Sakchai Saisingha
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
SAISINGHA_S@SU.AC.TH
SAISINGHA_S@SU.AC.TH
Keywords: กระจกเกรียบ
กรรมวิธีการบูรณะกระจกเกรียบ
Kriab mirrors
decorated with Kriab mirrors
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this article are: 1) To study the art of decorating with Kriab mirrors (ancient Thai glass)  in artworks and to determine the chemical composition of Kriab mirror  samples. by using the Energy Dispersive X- Ray Fluorescence Spectrometer (EDXRF) technique. 2) to study the age of Kriab mirror  samples used for decoration from artistic styles in the Ayutthaya and Rattanakosin periods Then find the artistic connection from the chemical composition of the Kriab mirror samples. 3) to invent a new Kriab mirrors. using the antique Kriab mirrors samples as a model for a guideline in restoring and preserving Thai artworks. And 4) The actual restoration in the case study. to find the correctness of the Kriab mirrors restoration process Research method by visiting the storage area of ​​craftsmanship and artworks. Analyze the relationship of 3 parts of data, beginning with the study of decorative Kriab mirrors of artistic styles to determine the age and period of creation. Then study and analyze the material composition of Kriab mirrors by a scientific process. to invent a new Kriab mirrors and applied the invention of Kriab mirrors to artworks in the case study according to the pattern of Thai craftsmanship, decorated with Kriab mirrors. The results of the research are as follows: 1) The chemical composition of the Kriab mirrors in Thai artworks was analyzed. Using energy dispersive X-ray fluorescence (EDXRF) techniques, lead was found to be the main constituent. 2) The study of decorative the Kriab mirrors in artworks forms is divided into 2 groups: Ayutthaya period and Rattanakosin period. And from the chemical composition of the Kriab mirrors, it was found that the Ayutthaya period’s Kriab mirrors had higher lead content than Rattanakolin period’s Kriab mirrors. 3) The able to reinvent the Kriab mirrors by using the ancient Kriab mirrors as a model. with the same properties or the same quality as antiques both texture and color. 4) Newly invented Kriab mirrors can be used in a concrete way in restoring and preserving Thai artworks in a case study. When comparing the conditions before and after conservation, it was found that it was in harmony with the Kriab mirrors in the original artworks.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศิลปะการประดับกระจกเกรียบในงานศิลปกรรม และหาองค์ประกอบทางเคมีของกระจกเกรียบ โดยใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ระบบกระจายพลังงาน (Energy Dispersive X- Ray Fluorescence Spectrometer, EDXRF)  2) เพื่อศึกษาอายุสมัยของกระจกเกรียบที่ใช้ประดับจากรูปแบบทางศิลปกรรมสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์  แล้วหาความเชื่อมโยงทางศิลปกรรมจากองค์ประกอบทางเคมีของกระจกเกรียบ   3) เพื่อประดิษฐ์กระจกเกรียบขึ้นมาใหม่ โดยใช้กระจกเกรียบโบราณเป็นต้นแบบ สำหรับเป็นแนวทางในการบูรณะและอนุรักษ์งานศิลปกรรมไทย และ  4) การทดลองบูรณะของจริงเป็นกรณีศึกษา เพื่อค้นหาความถูกต้องของกรรมวิธีการบูรณะกระจกเกรียบ วิธีการวิจัย โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานช่างและงานศิลปกรรม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล 3 ส่วน เริ่มจากการศึกษารูปแบบงานศิลปกรรมประดับกระจกเกรียบเพื่อกำหนดอายุยุคสมัยการสร้าง แล้วศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบวัตถุธาตุของกระจกเกรียบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประดิษฐ์กระจกเกรียบขึ้นมาใหม่  และนำกระจกเกรียบที่ประดิษฐ์ขึ้นไปใช้กับงานศิลปกรรมในกรณีศึกษาตามรูปแบบงานช่างไทยการประดับกระจกเกรียบ ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของกระจกเกรียบในงานศิลปกรรมไทย โดยใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ระบบกระจายพลังงาน (EDXRF)  พบว่ามี ตะกั่วเป็นองค์ประกอบหลัก  2)   การศึกษารูปแบบงานศิลปะกรรมประดับกระจกเกรียบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กระจกเกรียบสมัยอยุธยาและกระจกเกรียบสมัยรัตนโกสินทร์  และจากองค์ประกอบทางเคมีของกระจกเกรียบ พบว่า กระจกเกรียบสมัยอยุธยามีปริมาณตะกั่วสูงกว่ากระจกเกรียบสมัยรัตนโกลินทร์  3) สามารถประดิษฐ์กระจกเกรียบขึ้นมาใหม่โดยใช้กระจกเกรียบโบราณเป็นต้นแบบ ที่มีคุณสมบัติเหมือนเดิมหรือคุณภาพที่เท่าเทียมของโบราณมากที่สุด ทั้งเนื้อและสี  4) กระจกเกรียบที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมในการบูรณะและอนุรักษ์งานศิลปกรรมไทยในกรณีศึกษา  เมื่อเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการอนุรักษ์ พบว่า มีความกลมกลืนกับกระจกเกรียบในงานศิลปกรรมต้นแบบ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4816
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630330001.pdf10.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.