Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4819
Title: INTERACTIVE DESIGN TO TRANSFER THE ELDERLY INTELLECTUAL REPOSITORY
การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ
Authors: Nanchanop THASUWAN
นรรชนภ ทาสุวรรณ
Atithep Chaetnalao
อติเทพ แจ้ดนาลาว
Silpakorn University
Atithep Chaetnalao
อติเทพ แจ้ดนาลาว
CHAETNALAO_A@SU.AC.TH
CHAETNALAO_A@SU.AC.TH
Keywords: แนวทางการออกแบบ สื่อปฏิสัมพันธ์ การถ่ายทอด คลังปัญญา ผู้สูงอายุ
content design
interactive media
transfer
intellectual repository
elderly
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This Research aims to discuss the following issues: 1) a study of interactive design to transferring the elderly intellectual repository of Arts; and 2) an analysis of the content design in this interactive design to transferring the elderly intellectual repository of Arts. and 3) develop a prototype of interactive design to transfer the elderly intellectual repository of Arts. Accidental sampling was conducted to derive 21 samples of visitors who interested users on the trial of interactive media to transfer the elderly intellectual repository. Bangkok. Qualitative research methodology from constructed interviews with design interactive media experts were conducted to obtain qualitative data concerning knowledge management, system development, and the elderly intellectual repository transfer. The obtained qualitative data were analysed and synthesized. From the synthesis, S-CREATOR conceptual framework was derived. This leads to a systematic circulation of artistic intellectual repository which could be categorized due to topical basis of keywords ranging from collecting or creating content, easy to retrieving, being experience based intellectual, being accessible anytime, anywhere, via any devices, knowledge management must have transferring and sharing, use and reuse, open access, and retention system. Descriptive statistics including mean and standard deviation were functioned to define level of user attitude after the trial. The results of quantitative data analysis show that the aspect of learning was ranked the highest score by participants after the trial participants of satisfaction towards (= 4.57, S.D. = 0.50) , followed by Maintain of knowledge (= 4.53, S.D. = .66) followed by translations of knowledge, followed by maintain of knowledge  (= 4.57, S.D. = .56)  the aspect of learning was ranked the highest score designing screen  (=4.47, S.D.=.60), followed by content design (= 4.51, S.D.= .55) In addition, comments from the participants were found to be agreeable and supportive to development networking, raise value awareness in elderly via the development of interactive media for transferring the elderly intellectual repository of Arts.
ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 และจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดในปี 2578 ถือเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่ตามมาคือ ประชากรวัยทำงานลดลง ผู้สูงอายุมีมากขึ้น การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหายและสามารถต่อยอดได้เป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์สำหรับการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการออกแบบเนื้อหาในสื่อปฏิสัมพันธ์สำหรับการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ 3) เพื่อพัฒนาคลังปัญญาในการถ่ายทอดของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงการทดลองใช้สื่อปฏิสัมพันธ์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ  21 คน เป็นผู้เข้าชมผลงานดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ เครื่องมือวิจัยใช้การสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ ด้านการจัดการความรู้ ด้านการพัฒนาระบบและด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุโดยการรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์  นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้แนวความคิดในการออกแบบเนื้อหา ที่เรียกว่า S-CREATOR ทำให้เกิดคลังปัญญาทางศิลปกรรมที่หมุนเวียนเป็นระบบ โดยแบ่งเป็นระดับพื้นฐาน ประเภท สืบค้นได้ง่าย เริ่มจากการสะสมภูมิปัญญา การสร้างเนื้อหา สามารถสืบค้นได้ ภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์ สามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียม เข้าถึงได้อย่างเสรี การจัดการความรู้จะต้องมีการถ่ายทอด แบ่งปันและมีการใช้ซ้ำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเก็บรักษาอย่างมีระบบ วิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับระบบคลังความรู้ด่านต่าง ๆ สื่อปฏิสัมพันธ์สำหรับการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ นำข้อเสนอมาแก้ไข ทดสอบการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์สำหรับการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นการทดลองใช้สื่อปฏิสัมพันธ์ฯ ด้านความความรู้ (x̄ = 4.57, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ ด้านการรักษาความรู้ (x̄ = 4.53, S.D. = .66) รองลงมา คือ การบ่งชี้ความรู้ (x̄ = 4.57, S.D. = .60)  ประเด็นความพึงพอใจด้านการออกแบบความคิดเห็นพึงพอใจมากที่สุด ด้านการออกแบบหน้าจอ (x̄ = 4.47, S.D. = .60) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบเนื้อหา (x̄ = 4.51, S.D. = .55) จากการทดลองใช้อปฏิสัมพันธ์สำหรับการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุสามารถใช่งานได้เอง และเกิดความภูมิใจที่ความรู้ตนเองมีประโยชน์และมีผู้สนใจ ข้อเสนอแนะ คือ การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดเป็นความรู้ใหม่ เกิดการปฏิสัมพันธ์ทั้งในภาคส่วนออนไลน์และการพบปะกันในส่วนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้นมา เกิดลิขสิทธิ์ขึ้น เห็นด้วยกับการสร้างเครือข่ายและการสร้างความรู้สึกมีคุณค่าให้แก่ผู้สูงอายุ ช่วยในการพัฒนาคลังปัญญาผู้สูงอายุ ฯลฯ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4819
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60158902.pdf15.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.