Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4839
Title: The Suffering Message in Documentary Jewellery Art
ถ้อยคำความเจ็บปวดในบทแถลงศิลปะเครื่องประดับ
Authors: Noppadol NGOENBAHT
นภปฎล เงินบาท
Preecha Pun-Klum
ปรีชา ปั้นกล่ำ
Silpakorn University
Preecha Pun-Klum
ปรีชา ปั้นกล่ำ
PUN-KLUM_P@SU.AC.TH
PUN-KLUM_P@SU.AC.TH
Keywords: สงครามโลกครั้งที่ 2
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ
เส้นทางรถไฟสายมรณะ
WORLD WAR II
THAI-BURMA RAILWAY
DEATH RAILWAY
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: A momentous occasion happened in Kanchanaburi Province during World War II when Japan constructed a strategic railway by forcing POWs and a masses of laborers to hastily construct it night and day, resulting in numerous fatalities. The Thai people have thus named it  the “Death Railway”. This train route served as a memorial to the world, reminding us of the horrid brutality of  World War II. For this reason, the researcher was inspired to create a sculpture to position in the area of the Bridge over the River Kwai as a symbolic form of violence during the war. Furthermore, the objective of this research is to Delve into the annals of the construction of the Death Railway in Kanchanaburi Province to gain impetus for producing artistic works, invent works of art in a figurative form of  brutality of the war, and allow visitors to examine the inventive design of the various aspects of the Death Railway path. In addition, the research method is as follows: gathering information on inspiration-related ideas, attitudes, and experiences. The Death Railway's Construction History, interviewing people in the Pak Phraek community by collecting information with the heirs of Mr. Bunphong  Siriwetchaphan and heirs of Mr. Chua Ngoenbaht, academics and citizens of the Pak Phraek community organize exhibitions in Kanchanaburi Province and Bangkok to prepare the materials and start inventing works based on ideas.
จังหวัดกาญจนบุรีได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ เนื่องจากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ โดยการเกณฑ์เชลยศึกรวมถึงแรงงานจำนวนมาก รีบเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ ทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก คนไทยจึงเรียกทางรถไฟนี้ว่า “ทางรถไฟสายมรณะ”เส้นทางรถไฟสายนี้  ถือเป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเกิดแรงบัลดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากเรื่องราวการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี ในรูปแบบสัญลักษณ์ของความรุนแรงและสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประวัติศาสตร์การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นแรงดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2. สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ในรูปแบบสัญลักษณ์ของความรุนแรงและสงครามโลกครั้งที่ 2  3. เพื่อให้ผู้พบเห็นผลงานได้ชื่นชมการออกแบบสร้างสรรค์การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะหลากหลายรูปแบบ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแนวความคิด ทัศนคติ ประสบการณ์เกี่ยวกับแรงบันดาลใจ ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะ สัมภาษณ์คนในเหตุการณ์จริง โดยเก็บข้อมูลกับทายาทนายเจือ เงินบาท เจ้าของพื้นที่ค่ายเชลยสงครามบ้านท่ามะขาม และทายาทนายบุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์ นักวิชาการและประชากรชุมชนปากแพรก และหาพื้นที่ติดตั้งบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว จัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เริ่มสร้างผลงานตามแนวความคิด ประเมินผลงานการสร้างสรรค์ วิเคราะห์และอภิปรายผลการศึกษา ดังนั้นผลการวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อจัดแสดงในนิทรรศการเชิงข้อมูล (Documentary Exhibition) ในสถานที่สำคัญอื่น ๆ ต่อไป เพื่อให้ผู้เข้าชมตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงจากการก่อสงคราม ให้สงครามโลกครั้งที่ 2 และการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะเป็นบทเรียนของมนุษยชาติ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4839
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630420010.pdf12.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.