Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4859
Title: The Situations and Constraints Analysis of Low Carbon Tourism for Sustainability Tourism Development
การวิเคราะห์สภาพการณ์และอุปสรรคทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Authors: Patteera PANTARATORN
พัฒน์ธีรา พันธราธร
Jittasak Putjorn
จิตศักดิ์ พุฒจร
Silpakorn University
Jittasak Putjorn
จิตศักดิ์ พุฒจร
naturepaw@gmail.com
naturepaw@gmail.com
Keywords: การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ, การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, การพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ, อุปสรรคการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ
Low Carbon Tourism/ Tourism Development/ Sustainable Tourism Development/ Low Carbon Tourism Development/ Low Carbon Tourism Constraint
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to achieve the following objectives: 1) To investigate the current situation of low-carbon tourism in Thailand and to explore the constraints of low-carbon tourism development in Thailand from the supply side. 2) To examine the Exploratory Factor Analysis (EFA) and Confirmatory Factor Analysis (CFA) of barriers to the development of low-carbon tourism in Thailand from the supply side. 3) To analyze the relationships between motivation, perception, attitude, acceptance, and travel decision-making of Thai low-carbon tourists. 4) To test the causal model of travel decision-making of Thai low-carbon tourists. 5) To examine the mediating variable role of perception, attitude, and acceptance in the relationship between motivation and travel decision-making of Thai low-carbon tourists. 6) To study the moderating variable role of the barriers to low-carbon tourism development in Thailand in the relationship between motivation and travel decision-making of Thai low-carbon tourists. This research is a comprehensive study encompassing both supply and demand aspects and employs a mixed methodology approach, which is the use of qualitative research by conducting in-depth interviews with 17 key informants. The researcher analyzed the results of data analysis from In-depth interviews with data categorized using NVivo 20 were completed. A close-ended questionnaire was developed based on the interview results and administered to 224 tourism professionals. The data were then subjected to Exploratory Factor Analysis (EFA) to identify 3 dimensions and 20 sub-factors of barriers to low-carbon tourism development in Thailand. Confirmatory Factor Analysis (CFA) was subsequently conducted to validate the measurement model. Structural equation modeling (SEM) was used to analyze the relationships between motivation, perception, attitude, acceptance, and travel decision-making of Thai low-carbon tourists, employing Path Analysis in AMOS software. Analysis of the mediating variables of tourists' perceptions, attitudes, and acceptance of the relationship between low-carbon tourism motivation and low-carbon tourism travel decisions of Thai low-carbon tourists by analyzing the Structure Equation Model (SEM) using the Path Analysis method with the AMOS program, presenting the results of direct effects, indirect effects and total effects. Testing as a moderating variable of barriers to low-carbon tourism development in Thailand on the supply side on the relationship between motivation in low-carbon tourism and the decision to travel on low carbon tourism of low-carbon tourists of Thailand by using multiple regression analysis (Hierarchical Multiple Regression Analysis) The findings indicate that the barriers to low-carbon tourism development in Thailand consist of 3 dimensions: structural constraints, intrapersonal constraints, and interpersonal constraints. Perceptions, attitudes, and acceptance serve as mediating variables in the relationship between motivations and travel decisions in low carbon tourism. Additionally, constraints in the development of low carbon tourism act as moderating variables influencing the relationship between motivations and travel decisions in low carbon tourism All research hypotheses were supported, leading to the development of the BLCTD model, which comprehensively addresses and summarizes the barriers to low-carbon tourism development in Thailand.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทย 2) เพื่อสำรวจองค์ประกอบ (EFA) ของอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ การรับรู้ ทัศนคติ การยอมรับ และการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย 4) เพื่อทดสอบโมเดลเชิงสาเหตุของการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย 5) เพื่อศึกษาการเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ ทัศนคติ และการยอมรับการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและการตัดสินใกจนี้มีเดินทางของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย 6) เพื่อศึกษาการเป็นตัวแปรกำกับของอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทยด้านอุปทานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทั้งด้านอุปทานและด้านอุปสงค์ และใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methodology) คือ เป็นการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกที่จัดหมวดหมู่ข้อมูลด้วยโปรแกรม NVivo 20 นำมาจัดทำเป็นแบบสอบถามปลายปิด นำกลับไปสอบถามบุคลากรด้านอุปทานการท่องเที่ยว จำนวน 224 คน นำข้อมูลมาศึกษาองค์เชิงประกอบสำรวจ (EFA) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ทัศนคติ การรับรู้ การยอมรับ และการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) โดยโปรแกรม AMOS ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) เพื่อยืนยันรูปแบบแรงจูงใจ การรับรู้ ทัศนคติ การยอมรับ และอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทยด้านอุปทาน และ การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือทางสถิติการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ด้วยโปรแกรม AMOS ในการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ การรับรู้การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ทัศนคติที่มีต่อการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ การยอมรับการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย และวิเคราะห์การเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้ ทัศนคติ และการยอมรับของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย โดยนำเสนอผลของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม การทดสอบการเป็นตัวแปรกำกับของอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทยด้านอุปทาน ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของนักท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำชาวไทย โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression Analysis) จากผลการศึกษา พบว่า อุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 มิติคือ อุปสรรคที่เกี่ยวกับข้อจำกัดของโครงสร้าง อุปสรรคที่เกี่ยวกับข้อจำกัดภายในตัวบุคคล และอุปสรรคที่เกี่ยวกับข้อจำกัดระหว่างตัวบุคคล การรับรู้ ทัศนคติ และการยอมรับเป็นตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และอุปสรรคการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ผลการศึกษายอมรับสมมติฐานงานวิจัยทุกข้อ และผู้วิจัยได้พัฒนาแบบจำลอง BLCTD ที่ครอบคลุมและสรุปอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในประเทศไทยในด้านอุปทาน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4859
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621230032.pdf10.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.