Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/486
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT MODEL TO PROMOTEENVIRONMENTAL ETHICS
Authors: สิทธิโชค, ฐากร
SITTHICHOK, THAKORN
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้
จริยธรรมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
LEARNING MANAGEMENT MODEL
ENVIORNMENT ETHICS
ENVIRONMENTAL STUDIES
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม สำหรับนิสิตปริญญาตรี 2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และ 3) ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจใน วิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน ประเมินจริยธรรมสิ่งแวดล้อมระหว่างเรียนและหลังเรียน ประเมิน ความพึงพอใจหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 วิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน โดยเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน วิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา จริยธรรมสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินจริยธรรมสิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามความ พึงพอใจต่อรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ รูปแบบการจัดการ เรียนรู้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม (Preparation for Environmental Learning) ขั้นสร้างองค์ความรู้จริยธรรมสิ่งแวดล้อม (Construction the Body of Knowledge in Environmental Ethics) ขั้นสำรวจปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (Survey the Environmental’s Problems) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม เสริมสร้างคุณค่าจริยธรรมสิ่งแวดล้อม (Practice Activities to Support valuable Environmental Ethics) และ ขั้นสรุปและประเมินผลจริยธรรมสิ่งแวดล้อม (Summary and Evaluation Environmental Ethics) 2. ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมพบว่า 1) นิสิตที่ เรียนมีคะแนนความรู้ความเข้าใจ และคะแนนการพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นิสิตมีคะแนนการพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและหลังเรียนอยู่ในระดับดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การกตัญญูกตเวทีต่อสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการเคารพและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมตามลำดับ และ 3) นิสิตมี ความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการขยายการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมพบว่า 1) นิสิตที่เรียน มีคะแนนความรู้ความเข้าใจ และคะแนนการพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2) นิสิตมีคะแนนการพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลางและหลังเรียนอยู่ในระดับดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการกตัญญูกตเวทีต่อสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ ด้านการเคารพและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และด้านการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามลำดับ และ 3) นิสิตมีความ พึงพอใจในการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรมสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to 1) development of learning management model to promote environment ethics. 2) evaluate the effectiveness of development of learning management model to promote environment ethics. and 3) disseminate the development of learning management model to promote environment ethics. The sample was 40 students, major in social studies, Faculty of Education, Thaksin University Songkhal campus. The research instruments were learning management model to promote environment ethics, a learning outcome test, an assessment form of environmental ethics, and a questionnaire of the satisfaction of environmental ethics. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent and content analysis. The research finding revealed that: 1. The development of learning management model to promote environment ethics. consisted of 5 components: principles, objectives, process, evaluate and assessment and conditions for implementation. The instructional process were comprised of 5 steps, namely 1) preparation for environmental learning, 2) construction the body of knowledge in environmental ethics, 3) survey the environmental’s problems, 4) practice activities to support valuable environmental ethics, and 5) summary and evaluation environmental ethics. 2. The study of the effectiveness of development of learning management model to promote environment ethics. revealed that 1) student’s learning outcome scores on development environmental ethics was significantly higher than the scores before learning at the .05 level. 2) students ’s had learning outcome scores on the development environmental ethics in 5 components: pretest scores were at a moderate level and after learning at high level. The highest average was appreciation for the environment, then friendly with the environment and appreciation and respect of the environment. And 3) students’ satisfaction toward the model was at high level. 3. The result of disseminating the development of learning management model to promote environment ethics showed that 1) students ’s learning outcome scores on development environmental ethics was significantly higher than the scores before learning at the .05 level. 2) students ’s had learning outcome scores on the development environmental ethics in 5 components: pretest scores were at a moderate level and after learning at high level. The highest average was appreciation for the environment, then appreciation and respect of the environment and friendly with the environment. And 3) students’ satisfaction toward the model was at high level.
Description: 54262903 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- ฐากร สิทธิโชค
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/486
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54262903 ฐากร สิทธิโชค .pdf54262903 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- ฐากร สิทธิโชค4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.