Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4861
Title: PERCEPTION CHANNEL AND POLICY COMPLIANCE ON PLASTIC WASTE MANAGEMENT POLICY OF PEOPLE IN BANGKOK
ช่องทางการรับรู้และการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการขยะพลาสติกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Apichaya THAIRAT
อภิชญา ไทยรัตน์
Sawanya Thammaapipon
สวรรยา ธรรมอภิพล
Silpakorn University
Sawanya Thammaapipon
สวรรยา ธรรมอภิพล
sawanya@ms.su.ac.th
sawanya@ms.su.ac.th
Keywords: ช่องทางการรับรู้
พฤติกรรมการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการขยะ
นโยบายการจัดการขยะพลาสติก
PERCEPTION CHANNEL
PRACTICE PERCEIVED
PLASTIC WASTE MANAGEMENT POLICY
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research was to study the acceptance and compliance of the plastic waste management policy of the people in Bangkok according to the plastic waste management roadmap. 2018-2030 It was carried out using a quantitative research methodology. The sample consisted of people living in Lat Phrao, Chatuchak, and Khlong Khet districts. Bangkok, 400 people. Data were analyzed by statistical distribution, frequency, percentage, arithmetic mean. standard deviation and mean The study found that The sample group was aware of the plastic waste management policy, which is a policy to reduce the use of 4 types of plastic, namely thin plastic bags. Styrofoam food box Single-use plastic cups and plastic straws through 3 channels were moderate overall. When considering each aspect, all aspects were at a moderate level. If considering the average score, it was found that the policy was perceived from the print media. most average followed by perception from personal media and broadcasting media, respectively, and the behavior of the sample group in compliance with the plastic waste management policy. Overall, it was at a moderate level. When considering each aspect, it was found that Behavior to reduce the use of plastic bags. have the highest average score Followed by behavior to reduce the use of plastic straws. and behavior to reduce the use of foam food packaging, respectively. In the next research study, factors affecting the behavior of people in Bangkok should reduce the use of plastic bags. Success factors/motivation to reduce the use of plastic bags among people in Bangkok. and the role of government organizations in creating incentives to reduce the use of plastic bags.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับละการปฏิบัติตามรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตลาดพร้าว เขตจตุจักร และเขตคลองเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจง ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกที่เป็นนโยบายเกี่ยวกับการลดการใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกแบบบาง กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและหลอดพลาสติก ผ่านช่อง 3 ช่องทางในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยหากพิจารณาจากค่าคะแนนเฉลี่ย พบว่า มีการรับรู้นโยบายฯจากสื่อสิ่งพิมพ์ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือรับรู้จากสื่อบุคคลและสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ ตามลำดับ และพฤติกรรมการปฏิบัติตามนโยบายการจัดการขยะพลาสติกของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว มีค่าคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือพฤติกรรมลดการใช้หลอดพลาสติก และพฤติกรรมลดการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ตามลำดับ  ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติกของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจัยความสำเร็จ/แรงจูงใจการในลดการใช้ถุงพลาสติกของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และบทบาทขององค์กรภาครัฐในการสร้างแรงจูงใจในการลดการใช้ถุงพลาสติก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4861
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631220047.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.