Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4863
Title: Railway Tourism Attributes to Create Train Tourism Experiences in Thailand
คุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางสู่การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรถไฟในประเทศไทย
Authors: Thareethip LAOWIROJANAKUL
ธารีทิพย์ เหล่าวิโรจนกุล
Santidhorn Pooripakdee
สันติธร ภูริภักดี
Silpakorn University
Santidhorn Pooripakdee
สันติธร ภูริภักดี
santidhorn@gmail.com
santidhorn@gmail.com
Keywords: การท่องเที่ยวทางราง คุณลักษณะการท่องเที่ยว ประสบการณ์การท่องเที่ยว ความสนุกสนาน
Railway Tourism: Tourism Attributes: Tourism Experience: Fun
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The railway tourism in Thailand has been operational under the management of the State Railway of Thailand since 1977. It involves utilizing passenger trains that venture off the conventional routes. Recently, a tourism train was first introduced for services in December 2022, and they have been consistently gaining popularity. However, upon reviewing the literature, there is a dearth of research pertaining to railway tourism, as positive experiences can further stimulate sustained tourist demand. In order to enrich this underdeveloped area, the objectives of this study are as follows: 1) To examine the attributes of railway tourism in Thailand; 2) To survey and construct a model measuring the attributes of railway tourism; 3) To test the consistency of the structural equation model and verify the hypotheses; and 4) To propose a model for the railway tourism experience in Thailand. The research employs a mixed-methods approach, combining qualitative and quantitative, and has been granted approval by the Research, Innovation and Creativity Administration Office, Silpakorn University, with the reference number COE 66.0214-007. The results of in-depth interviews showed that the railway tourism attributes (RTA) consist of 8 dimensions. When conducting an EFA, it was found that there are encompass 7 dimensions. Furthermore, during the CFA of the model with empirical data, with the appropriate criteria of X2 = 440.065, df = 203, X2/df = 2.167, CFI = .940, TLI = .931, RMSEA = .061, SRMR = .054, the analysis revealed that there are encompass 6 dimensions, which are: 1) Service staff, Railway package, Tourism train, Supports, Railway station, and Tourism destinations, and 22 observed variables. As for the results of the SEM's goodness-of-fit testing, it was revealed that the model aligns well with the empirical data, with four causal variables being identified, which are RTA, Leisure Involvement, Place Attachment, and FUN with X2 = 2285.935, df = 1250, X2/df = 1.828, CFI = .917, TLI = .912, RMSEA = .051, SRMR = .062. The results of hypothesis testing found that RTA has a direct impact on the Tourist Experience and indirectly influence it through the mediating variable of FUN. The focus group discussions further demonstrated that the railway tourism experience can be developed into four dimensions (4Fs), including Fun, Facts, Felicity, and Friendliness. Through the findings of this study, stakeholders can utilize the results to enhance their management practices and devise marketing strategies that meet the needs of tourism and ultimately create a fulfilling railway tourism experience for tourists.
การท่องเที่ยวทางรางของประเทศไทยโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เกิดจากการนำรถไฟโดยสารมาจัดนำเที่ยวนอกตารางตั้งแต่ปี 2520 และปัจจุบันมีรถไฟนำเที่ยวโดยเฉพาะที่เปิดให้บริการครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2565 และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ยังไม่มีการศึกษาที่สอดคล้องกับรถไฟนำเที่ยวด้านคุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางต่อการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว ซึ่งประสบการณ์เชิงบวกสามารถต่อยอดไปสู่ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้ช่องว่างนี้ได้รับการเติมเต็ม การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางของประเทศไทย 2) สำรวจและสร้างแบบวัดคุณลักษณะการท่องเที่ยวทางราง 3) ทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมการโครงสร้างและทดสอบสมมติฐานที่กำหนดของปัจจัยเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) นำเสนอรูปแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวทางรางของประเทศไทย ใช้การวิจัยรูปแบบผสานวิธีด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หมายเลข COE 66.0214-007 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า คุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางของประเทศไทยประกอบด้วย 8 มิติ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า คุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางประกอบด้วย 7 มิติ และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ X2 = 440.065, df = 203, X2/df = 2.167, CFI = .940, TLI = .931, RMSEA = .061, SRMR = .054 พบว่า คุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางประกอบด้วย 6 มิติ ได้แก่ 1) พนักงานบริการ 2) รถไฟนำเที่ยว 3) แพคเก็จรถไฟ 4) สถานีรถไฟ 5) สิ่งสนับสนุน และ 6) จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว และตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 22 ตัวแปร สำหรับผลการทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองสมการโครงสร้างของการท่องเที่ยวทางราง พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยตัวแปรเชิงสาเหตุจำนวน 4 ตัว ได้แก่ คุณลักษณะการท่องเที่ยวทางราง การใช้เวลายามว่าง ความผูกพันกับสถานที่ และความสนุกสนาน คือ X2 = 2285.935, df = 1250, X2/df = 1.828, CFI = .917, TLI = .912, RMSEA = .051, SRMR = .062 และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะการท่องเที่ยวทางรางส่งผลทางตรงต่อประสบการณ์การท่องเที่ยว และส่งผลทางอ้อมโดยมีความสนุกสนานเป็นตัวแปรส่งผ่าน จากผลการสนทนากลุ่ม พบว่า ประสบการณ์การท่องเที่ยวทางรางสามารถพัฒนาเป็นรูปแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวทางราง 4 ด้าน ได้แก่ ความสนุกสนาน ความรู้และข้อมูล ความอิ่มเอม และความเป็นมิตร ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถนำไปใช้พัฒนาการบริหารจัดการและวางกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อสนองตอบความต้องการทางการท่องเที่ยวและสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวทางรางแก่นักท่องเที่ยว
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4863
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631230001.pdf18.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.