Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4874
Title: The Development of Board Game-Based Learning Activity Package: Hoop-Tam to Promote Perceived Value of Local Visual Arts and Art Creation for Prathom Suksa 6 Students in Maha Sarakham Provinc
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ฮูปแต้ม เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ท้องถิ่น และการสร้างสรรค์งานศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Saipirun YODSIRI
สายพิรุณ ยอดศิริ
WISUD PO NEGRN
วิสูตร โพธิ์เงิน
Silpakorn University
WISUD PO NEGRN
วิสูตร โพธิ์เงิน
wisudpo@gmail.com
wisudpo@gmail.com
Keywords: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
บอร์ดเกมการศึกษา
การเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ท้องถิ่น
Learning activity package
Board game
Perceived value of local visual arts
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research aims 1.) to develop the board game-based learning activity package for studying the northeastern Thai mural paintings (Hoop-Tam), 2.) to create the board game-based learning activity package, 3.1), to assess perceived value of local visual arts, 3.2) to evaluate students’ satisfaction, and 4) to enhance board game-based learning activity package for Hoop-Tam study. The simple random sampling was used to collect a sample of 40 Prathom Suksa 6 students from Anuban Kantharawichai School, Khok Phra, Kantharawichai district, Maha sarakham province. The research instruments were 1.) a board game-based learning activity package for Hoop-Tam study, 2.) a value of local art assessment form, 3.) a focus group form, 4.) a visual art evaluation form, and 5.) a satisfaction assessment from. The data analysis involved using descriptive statistics (percentages, averages (x̅), and standard deviations) along with content analysis.           The findings revealed that (1) The Basic Education Core Curriculum and school curriculum were consistent with the requirements of learning management, which involved board game-based learning activity package for Hoop-Tam study. According to the satisfaction survey, 81.7% of students were also interested in game-based learning activities, (2) the development of board game-based learning activity package for Hoop-Tam study consisted of 8 learning management plans and 3 board games: colors of Hoop-Tam, Wad Wad Tie Tie Hoop-Tam(Guess the drawing), and Chang-Taem (Painter), (3) the use of the board game-based learning activity package yielded the following results: 3.1) students perceived a high value in local visual arts, with an average score of 3.3. The interview sessions also revealed that students were able to express their opinions and share ideas on preserving and promoting Hoop-Tam in their own ways. Additionally, the visual art evaluation received an excellent rating (x̅ = 3.4), 3.2) students' satisfaction with the board game-based learning activity package was excellent (x̅ = 4.0). Notably, there was an improvement on learning activity, including adjustments to worksheets in some learning management plans and an increase in the number of board game cards. Clear board game instructions were also provided for all players.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาข้อมูลในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง       ฮูปแต้มฯ 2.) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ 3.) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ 3.1.) เพื่อประเมินการเห็นคุณค่าของทัศนศิลป์ท้องถิ่น 3.2.) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน 4.) เพื่อปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 40 คน จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ 2.) แบบประเมินการเห็นคุณค่าของทัศนศิลป์ท้องถิ่น 3.) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนแบบการสนทนากลุ่ม 4.) แบบประเมินผลงานทัศนศิลป์ 5.) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ หลักสูตรโรงเรียนฯ มีความสอดคล้องกับความต้องการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ และตัวผู้เรียนระบุความสนใจการเรียนรู้รูปแบบเกมคิดเป็น 81.7% (2) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน บอร์ดเกมการศึกษา 3 เกม (3) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษาเรื่อง ฮูปแต้มฯ พบว่า 3.1) ผลการประเมินการเห็นคุณค่าของทัศนศิลป์ท้องถิ่นของนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก (x̅= 3.3) จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนแบบการสนทนากลุ่มพบว่า นักเรียนสามารถแสดงความรู้สึกต่อข้อคำถามต่างๆ สามารถเสนอวิธีการในการอนุรักษ์ ปกป้องฮูปแต้ม และสามารถบอกวิธีการที่จะเผยแพร่ฮูปแต้มในรูปแบบของตนเองได้ และผลการประเมินผลงานศิลปะอยู่ในระดับ ดีมาก (x̅= 3.4) 3.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̅ = 4.0) 4) มีการปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ คือ ปรับปรุงรายละเอียดบางส่วนในแผนการจัดการเรียนรู้ และปรับปรุงบอร์ดเกมการศึกษาโดยการเพิ่มจำนวนการ์ดเกมให้เพียงพอ เพื่อให้ชุดกิจกรรมฯนี้ มีความสมบูรณ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4874
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
626120018.pdf17.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.