Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/489
Title: | รูปแบบและกลยุทธ์ทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจปลาสวยงามของผู้ประกอบการปลาสวยงาม ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี |
Other Titles: | MODELS AND MARKETING STRATEGIES IN THE BUSINESS OF ORNAMENTAL FISH IN BANPONG DISTRICT RATCHABURI PROVINCE |
Authors: | สร้อยแสง, วิภา Sroiseang, Wipha |
Keywords: | กลยุทธ์ทางการตลาด ผู้ประกอบการ ปลาสวยงาม MARKETING STRATEGY OPERATOR FISH |
Issue Date: | 18-May-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและกลยุทธ์ทางการตลาด 2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินธุรกิจปลาสวยงามของผู้ประกอบการปลาสวยงาม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ประกอบการปลาสวยงามในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี งานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก มีการสัมภาษณ์กับผู้ประกอบการปลาสวยงามจำนวน 5 ราย ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการปลาสวยงามดำเนินธุรกิจเป็นรูปแบบธุรกิจขนาดย่อม เริ่มจากธุรกิจในครอบครัว ใช้บริเวณบ้านเป็นสถานประกอบการ ทำเลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เหมาะสม เป็นศูนย์กลางการจัดจำหน่าย เส้นทางการคมนาคมสะดวกในการเข้าถึง ผู้ประกอบการมีความสามารถในการเลี้ยงสูง ปลาแข็งแรง มีคุณภาพ ด้านการขนส่งใช้การกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคโดยผ่านทางลูกค้าส่ง ลูกค้าปลีก และนักท่องเที่ยว ขนส่งสินค้าโดยทางรถยนต์ รถโดยสารทั่วไป รถไฟและเครื่องบิน หรือลูกค้ามารับสินค้าด้วยตนเอง การตั้งราคากำหนดราคาตามคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก เน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ มีการจัดสรรเงินลงทุนทางธุรกิจจากธนาคารและเงินลงทุนส่วนตัว ส่งเสริมการตลาดโดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่ออินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ และนิตยสาร ในส่วนของปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่ามีปัญหาทางด้านสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความต้องการของลูกค้า พิจารณาถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในการประกอบธุรกิจปลาสวยงามให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนสืบไป This research is qualitative study. The essential purposes of the researcher were (1) to study the models and marketing strategies and (2) to study obstacles and the solutions to the problems of ornamental fish entrepreneurs in Ban Pong, Ratchaburi. The method used in this research was phenomenology in which five ornamental fish entrepreneurs were specifically chosen. The data was collected by in-depth interviewing those five key informants. The results found that ornamental fish entrepreneurs operated their businesses in small form starting from in-house enterprise by using their own houses as a place of business and located in Ban Pong district, Ratchaburi. According to suitable climate and landscape as well as convenient transportation, Ban Pong district turned to be the distribution center. Moreover, the entrepreneurs specialized in fish breeding in which bred fish were healthy and qualified. In terms of distribution via cars, public transportations, trains and airplanes, the fish were transported through retailers, wholesalers, and also tourists themselves. Pricing was mainly set due to the quality of products in order to fulfill customer demands whereas the asset allocation was managed through personal and banking loan. The entrepreneurs did marketing advertisement through internet, televisions, and magazines. There were three main problems which were weather problem, and customer requirement problem. To ornamental entrepreneurs, the solution methods to those problems were being considered continuously to be guidelines in solving problems. |
Description: | 56601319 ; สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน -- วิภา สร้อยแสง |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/489 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56601319 วิภา สร้อยแสง.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.