Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/491
Title: การพัฒนารูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta cognition สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF DRU MODEL TO ENHANCE META COGNITION FOR GRADUATE DIPLOMA PROGRAM IN TEACHING PROFESSION STUDENTS
Authors: ปภัสสรานนท์, นฤมล
PAPATSARANON, NARUEMON
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
การเรียนรู้อภิปัญญา
ความรู้อภิปัญญา
DEVELOPMENT OF MODEL
META COGNITION LEARNING
META COGNITIVE KNOWLEDGE
Issue Date: 4-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความรู้ก่อน-หลัง ของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู 2.2) ศึกษาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และ 2.3) ศึกษาความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มที่ 6 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการเขียนแผนการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระ (Dependent) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition มีประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ 75/75 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 73.58 / 79.63 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition ได้แก่ 2.1) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) นักศึกษามีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ในระดับสูง 2.3) นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ได้ในระดับสูง 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition ในภาพรวมเห็นด้วยในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านกิจกรรมและด้านบรรยากาศ ตามลำดับ The objectives of this educational research were to : 1) develop and assess the efficiency of DRU Model to enhance Meta Cognition for Graduate Diploma in Teaching Professional students 2) study the effectiveness of DRU Model to enhance Meta Cognition such as, 2.1) compare pre-post learning achievement of Graduate Diploma Students Professional Educator Section, 2.2) study the ability in learning management plan formulation and 2.3) study the ability in implementing learning management plan. 3) study the students’ opinion toward DRU Model to enhance Meta Cognition. The sample were obtained by simple random sampling method. They were graduate diploma students, professional educator section, Faculty of Education, Dhonburi Rajaphat University, Group 6, semester I , education year 2558 , total 27 students. The research instruments were DRU Model to enhance Meta Cognition, achievement test, learning management plan formulation assessment, ability in implementing learning management plan form and questionnaire asking student toward DRU Model to enhance Meta Cognition. Data were analysed by mean, standard deviation , t-test (dependent sample) and content analysis. The research results revealed that : 1) DRU Model to enhance meta cognition possessed efficiency according to the criteria 75/75 , efficiency value E1/E2 = 73.58 / 79.63 2) The effectiveness of DRU Model to enhance Meta Cognition were 2.1) Student achievement test scores after studying DRU Model to enhance Meta Cognition were higher than before studying at .01 level of significance. 2.2) The students possessed ability in formulating learning management plan according to DRU Model to enhance Meta Cognition at high level. 2.3) The students possessed ability in implementing learning management plan, according to DRU Model to enhance Meta Cognition at high level. 3) The students’ opinion toward DRU Model to enhance Meta Cognition as a whole was at the highest level arranging from the highest mean to the lowest mean ; benefit, activities and atmosphere consecutively.
Description: 55253911 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- นฤมล ปภัสสรานนท์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/491
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55253911 ; นฤมล ปภัสสรานนท์ .pdf55253911 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- นฤมล ปภัสสรานนท์6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.