Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4917
Title: STRATEGIC MANAGEMENT OF SCHOOL IN BURAPA SUKSA GROUP NAKHONPATHOM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
Authors: Chanikan MUANGSEM
ชนิกานต์ ม่วงเสม
Sakdipan Tonwimonrat
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
Silpakorn University
Sakdipan Tonwimonrat
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
sakdipan55@gmail.com
sakdipan55@gmail.com
Keywords: การบริหารเชิงกลยุทธ์
STRATEGIC MANGEMENT
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this study were identify;1) the strategic management of school Burapa suksa group under Nakhonpathom Primary Educational Service Area office 1. 2) the development approach of strategic management of Burapa suksa school group under Nakhonpathom Primary Educational Service Area office 1.The population of this research was 42 respondents. The instrument used were (1) an opinionnaire about strategic management of Burapa suksa school group under Nakhonpathom Primary Educational Service Area office 1 based on David and other. (2) a structured interview based on David and other. The statistics used were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis.             The research finding were as follows:             1. The strategic management of Burapa suksa school group under Nakhonpathom Primary Educational Service Area office 1, was high level totally considered by aspects has found in high level in all aspects sorted by the arithmetic mean from descending as follows : 1) Strategy Implementation 2) Strategy Evaluation  3) Strategy Formulation             2. The developmental guideline of strategic management of Burapa suksa school group under Nakhonpathom Primary Educational Service Area office 1 found that, School administrators should emphasize 3 aspects of the strategic management process, as 1) Strategic Formulation,choosing the specific strategies to achieve various activities, establishing the clear and comprehensive long-term objectives, creating alternative school strategies, using all available information to develop school strategies, and communicating the clear goals of the strategy convey to school’ staffs together. 2) Strategic Implementation, the development of various plans. Details should be outlined for allocating budget and the various resources efficiently. In this stage, the motivation should be ensured to carry out the tasks to achieve the goals. 3) Strategic Evaluation, a collaborative assessment involving administrators, teachers, and the school board join the evaluation aiming analyze strategies and utilize to improve the plans.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 14 โรงเรียน โดยผู้วิจัยได้กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาหรือรักษาการในตำแหน่ง จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 1 คน 3) ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 42 คน ผู้วิจัยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ตามแนวคิดของ เดวิด และคณะ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา             ผลการวิจัยพบว่า             1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ด้านการประเมินกลยุทธ์ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ            2. แนวทางในการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญในกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ควรมีการเลือกกลยุทธ์เฉพาะเจาะจงที่จะดำเนินการ กำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว สร้างกลยุทธ์ทางเลือกของโรงเรียน นำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน และมีการสื่อสารให้บุคลากรในโรงเรียนเข้าใจเป้าหมายของกลยุทธ์ร่วมกัน 2) ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ควรมีการจัดทำแผนงานตามปฏิทินการปฏิบัติงาน กำหนดรายละเอียดการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ มีการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายของกลยุทธ์ที่กำหนด 3) การประเมินกลยุทธ์ ควรมีการประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์ทบทวนกลยุทธ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จและนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแผนการดำเนินงานของโรงเรียน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4917
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650620073.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.