Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4918
Title: Application of Histochemical Technique for Fat Embolism–Related Sudden Unexpected Death in IFM Autopsy Cases
การประยุกต์ใช้เทคนิคฮีสโตรเคมิคอลในผู้เสียชีวิตแบบไม่ทราบสาเหตุจากภาวะละอองไขมันอุดตันจากตัวอย่างศพในสถาบันนิติเวชวิทยาโรงพยาบาลตำรวจ
Authors: Yasudama CHAIMAD
ยสุดามา ชัยมาด
Woratouch Witchuvanit
วรธัช วิชชุวาณิชย์
Silpakorn University
Woratouch Witchuvanit
วรธัช วิชชุวาณิชย์
Woratouch_w@yahoo.com
Woratouch_w@yahoo.com
Keywords: ภาวะละอองไขมันอุดตัน
นิติเวชวิทยา
ฮิสโตรเคมิคอล
กรดโครมิก
การเสียชีวิตแบบไม่ทราบสาเหตุ
Fat embolism
Forensic medicine
Histochemical
Oil Red O
Chromic acid
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Fat embolism is a common cause of death after trauma. The mechanism is that fat emboli leak into the circulatory and respiratory systems and obstruct the blood vessels. Fractures of long bones, fractures with metal splints, and cardiopulmonary resuscitation (CPR) are common causes of fat emboli formation. Oil red o (ORO) staining can explain unexplained or sudden death. To study the application of the ORO technique in autopsies who have died from unknown causes. Divide the study into four parts: 1) statistical data to determine the relationship between fractures and post-hospital resuscitation, 2) the efficiency of ORO-homemade dye (ORO-HM) was evaluated in different tissue samples; 3) The efficiency of ORO-HM dye on chromic acid immobilized specimens was studied; and 4) group discussions to evaluate whether the experimental innovation is suitable and to what extent it has quality. The results showed that the admitted showed the highest number of CPR and the fractures were significantly different at p< 0.05 compared to the corpses not admitted. Therefore, the chance of unexplained death after amitted is high. The results of expert evaluation using the blind test technique of ORO-HM were not significantly different at p< 0.05. In order to increase reliability, fixative tissue should be used. Fat-stained slides should be read within 72 hours because the color quality and cell shape begin to change over time. And for the efficiency of the chromic-ORO-HM, there was not a statistically significant difference at p< 0.05 when compared with the chromic-ORO-C. From the sub-group seminars, it was concluded that it was possible to use the ORO-HM and chromic-ORO-HM to be applied in daily work without staining every corpse because it costs more than is necessary. The physician will consider the histopathological results of the hematoxylin and eosin stain and the history of the corpse as components.
ภาวะละอองไขมันอุดตัน (fat embolism) ในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยหลังการบาดเจ็บกลไกเกิดจากมีก้อนลิ่มไขมัน (fat emboli) หลุดเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจเข้าไปอุดตัดตามเส้นเลือดต่าง ๆ ของร่างกาย การหักของกระดูกท่อนใหญ่ การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ และการกู้ชีพ (CPR) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนลิ่มไขมันได้ วิธีการย้อมไขมันในเนื้อเยื่อด้วยสี Oil red o (ORO) สามารถอธิบายสาเหตุการตายแบบไม่ทราบสาเหตุหรือแบบกระทันหันได้ เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคนิคฮีสโตรเคมิคอลชนิด ORO ในศพที่เสียชีวิตแบบไม่ทราบสาเหตุจากภาวะลิ่มไขมันอุดตัน แบ่งการศึกออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) รวบรวมข้อมูลทางสถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ของการเกิดกระดูกหักกับการกู้ชีพหลังเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 2) ประเมินประสิทธิภาพของสีย้อม ORO ชนิดที่เตรียมขึ้นเอง (ORO-HM) ในตัวอย่างชิ้นเนื้อที่แตกต่างกัน 3) ศึกษาประสิทธิภาพของสีย้อม ORO-HM กับชิ้นเนื้อที่ตรึงด้วยกรดโครมิก และ 4) การสนทนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินนวัตกรรมที่ทดลองว่ามีความเหมาะสมหรือมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ผลการศึกษาพบว่าผลวิเคราะห์ทางสถิติของศพที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมีจำนวนการทำการกู้ชีพและเกิดกระดูกหักมากที่สุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับศพที่ไม่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลดังนั้นโอกาสเสียชีวิตแบบไม่ทราบสาเหตุหลังเข้ารับการรักษาจึงมีสูง ผลการประเมินประสิทธิภาพของสีย้อม ORO-HM โดยผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิค blind test ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือควรใช้ชิ้นเนื้อแบบตรึงน้ำยารักษาสภาพ และควรอ่านสไลด์ย้อมไขมันภายใน 72 ชั่วโมงเพราคุณภาพของสีและรูปร่างเซลล์เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป และประสิทธิภาพของสีย้อม chromic-ORO-HM ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับ chromic-ORO-C จากสัมนากลุ่มย่อยสรุปว่ามีความเป็นไปที่สามารถนำสี ORO-HM และ chromic-ORO-HM มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน โดยไม่จำเป็นต้องย้อมในศพทุกราย เพราะทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น โดยแพทย์จะพิจารณาจากผลทางจุลพยาธิวิทยาของสี hematoxylin and eosin และประวัติของศพนั้น ๆ เป็นองค์ประกอบ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4918
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59312902.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.