Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4926
Title: Biodiversity of Yeasts in Native Thai Bees and Testing of Potential Antagonism for Control of Some Bacteria
ความหลากหลายทางชีวภาพของยีสต์ในผึ้งพื้นเมืองของไทยและการทดสอบศักยภาพในการเป็นปฏิปักษ์ต่อการควบคุมแบคทีเรียบางชนิด
Authors: Nawarat CHAROENPHOL
นวรัตน์ เจริญผล
Sujinan Meelai
สุจินันท์ มีไล้
Silpakorn University
Sujinan Meelai
สุจินันท์ มีไล้
ssmeelai@gmail.com
ssmeelai@gmail.com
Keywords: ยีสต์ปฏิปักษ์
ยีสต์ที่เกี่ยวข้องกับผึ้ง
ผึ้งที่ผลิตน้ำหวาน
สปีชีส์ใหม่
Starmerella apis
ประเทศไทย
Antagonistic yeast
Bee-associated yeasts
Honeybees
New species
Starmerella apis
Thailand
Issue Date:  24
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Insect yeasts could occur in a wide range of habitats, including bees and beetles, in which they might play important roles. However, investigation of honeybee yeasts in Thailand was scarce. Yeast communities inhabiting the digestive tracts were examined using cultivation method and compared with those inhabiting the honey. Yeasts were recovered from the hives of 4 honeybee species collected in Chiang Mai province, and 47 strains were investigated in this study. Identification based on LSU D1/D2 sequence analysis revealed a higher number of strains in the phylum Ascomycota than in the phylum Basidiomycota. The ascomycetous yeasts comprised 5 known species from 4 genera, Aureobasidium, Kodamaea, Pichia and Starmerella, and 4 candidates assumed new species. Whereas, the basidiomycetous yeasts included 1 known species from the genus Filobasidium and 1 candidate assumed new species. The species with the highest occurrence was a candidate assumed new species near S. apis. Antagonistic activity of 39 yeast strains on 14 tested bacteria was determined using agar well diffusion method. Eight strains had zones of inhibition between 10.8±0.4 to 14.6±0.5 mm for A. calcoaceticus TISTR 360.
ยีสต์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในแมลงสามารถพบได้ทั่วไปในแหล่งอาศัยที่หลากหลาย รวมถึงผึ้งและด้วง อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับยีสต์ในผึ้งที่ผลิตน้ำหวานของประเทศไทยมีค่อนข้างน้อย การเปรียบเทียบชุมชีพยีสต์ที่อาศัยในทางเดินอาหารของผึ้งกับน้ำผึ้งนั้นใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเชื้อ ในการศึกษานี้จะแยกยีสต์จากรังผึ้ง 4 สายพันธุ์ที่เก็บรวบรวมได้จากจังหวัดเชียงใหม่ และพบยีสต์ 47 สายพันธุ์ การพิสูจน์เอกลักษณ์บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนส่วน LSU D1/D2 แสดงว่า จำนวนยีสต์ในไฟลัมแอสโคไมโคตาสูงกว่าไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา ยีสต์ในกลุ่มแอสโคไมซีตัสประกอบด้วย 5 สปีชีส์ที่รู้จักกันใน 4 สกุล Aureobasidium, Kodamaea, Pichia และ Starmerella และ 4 สปีชีส์ใหม่ ส่วนยีสต์ในกลุ่มเบสิดิโอไมซีตัสประกอบด้วย 1 สปีชีส์ที่รู้จักกันในสกุล Filobasidium และ 1 สปีชีส์ใหม่ สปีชีส์ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ยีสต์สปีชีส์ใหม่ซึ่งเป็นเครือญาติที่ใกล้ชิดกับ S. apis กิจกรรมการเป็นปฏิปักษ์ของยีสต์ 39 สายพันธุ์ต่อแบคทีเรีย 14 สปีชีส์นั้นทดสอบด้วยเทคนิค agar well diffusion พบยีสต์ 8 สายพันธุ์ที่พิสูจน์เอกลักษณ์แล้วจัดเป็น S. apis และ S. caucasica มีเส้นผ่าศูนย์กลางของการยับยั้งระหว่าง 10.8±0.4 ถึง 14.6±0.5 มิลลิเมตร สำหรับแบคทีเรีย Acinetobacter calcoaceticus TISTR 360
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4926
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61313203.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.