Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4986
Title: Abstract Space
พื้นที่นามธรรม
Authors: Sangsan POOKBANYANG
สร้างสรรค์ พุกบ้านยาง
Ruthairat Kumsrichan
ฤทัยรัตน์ คำศรีจันทร์
Silpakorn University
Ruthairat Kumsrichan
ฤทัยรัตน์ คำศรีจันทร์
jowsroy@hotmail.com
jowsroy@hotmail.com
Keywords: เจดีย์
พระอุโบสถ
พื้นที่ว่าง
สัจธรรม
PAGODA
CHAPEL
NEGATIVE SPACE
TRUTH
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Researches on the archaeological ruin of Ayutthaya emphasize its value in history, ancient machinery, arts, cultures,  politics, and government that embedded Thai arts until now. With a respective understanding of the value and importance of restoration, but instead, the artist focuses on the core value of Buddhist beliefs which is to gather people to worship the Buddha, the Dhamma, and the Sangha; as the profound understanding of the teachings will lead to the righteous practice. This behavior is the highest beauty above art or any other materialistic object as it is for deeper understanding and enlightenment. The purpose and meaning of the art project, 'ชื่อโครงงาน,' is to represent the truth of nature through the sculpture inspired by the research at the archaeological ruin of Ayutthaya. The forms of both the Pagoda and Chapel were transformed into an artistic sculpture that emphasizes the fluctuation and decay of its structures even if when they were sacred architectures. The artist uses the negative space between the form of ruined architecture; for example, the building without the roof, the pillars without the remaining walls, the door, and window frames: all these aspects could be the representation of Buddhist teachings. Especially when the spaces inside of the architecture were exposed without the ruin of the exquisite walls, the form of the negative spaces inside the architecture is like the form of the Plaster mold. The understanding of the truth guild the viewer to feel the beauty of the form without the outer shell and aware of the negative space that lies between, the abstract spaces of knowledges and philosophy of Buddhism.
จากการสำรวจและศึกษาซากโบราณสถานในจังหวัดอยุธยาทำให้เห็นคุณค่าในหลายแง่มุมทั้ง คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครองในอดีต เทคโนโลยีโบราณ ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานของศิลปะไทยในปัจจุบัน คุณค่าเชิงอนุรักษ์ มนุษยศาสตร์ คุณค่าเหล่านี้มีประโยชน์และงดงาม ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ เพียงแต่มุ่งไปสู่สาระสำคัญที่สุดจากจุดประสงค์ของศาสนสถานของศาสนาพุทธ คือการให้ผู้มาสักการะเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อศรัทธาแล้วย่อมศึกษาว่าพระพุทธเจ้าสอนสิ่งใดน้อมเข้าไปสู่ใจแล้วปฏิบัติตาม สิ่งนี้จึงเป็นความงดงามสูงสุดเหนือกว่าศิลปะ เหนือกว่าวัตถุใด ๆ เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม รู้ยิ่ง รู้แจ้ง        การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์ชุด “พื้นที่นามธรรม” มีความมุ่งหมายเพื่อนำเสนอการเข้าไปเห็นสัจจะความเป็นจริงของธรรมชาติด้วยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทประติมากรรมจากแรงบันดาลใจจากการเข้าไปสำรวจซากโบราณสถานในจังหวัดอยุธยาโดยหยิบยกรูปทรงเจดีย์และพระอุโบสถมาจัดการด้วยกระบวนการทางศิลปะ โดยเน้นที่สาระของการแปรปรวนและแตกสลายของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นแม้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิในศาสนาพุทธ ผู้สร้างสรรค์ได้นำรูปแบบพื้นที่ว่างอันเกิดจาการทรุดโทรมตามกาลเวลาของซากโบราณสถาน เจดีย์และพระอุโบสถในจังหวัดอยุธยา เช่นตัวอาคารที่ปราศจากหลังคา กำแพงที่พังทลายลงจนเหลือแต่เสาค้ำ ช่องหน้าต่างและประตูที่ปราศจากบานเปิดปิด สิ่งเหล่านี้มีสาระทางศาสนาพุทธอันลึกซึ้งแยบคายซ่อนอยู่ โดยเฉพาะเมื่อเปลือกนอกอันงานวิจิตรของสถานที่ได้ถูกเปลือยออก นำเสนอความว่างด้วยด้วยการใช้รูปทรงล้อมรอบพื้นที่ว่าง ทำให้เห็นพื้นที่ว่างกลายเป็นรูปทรงตามเทคนิคการทำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ แสดงความงามทางอรรถรสให้สอดคล้องตามสัจธรรม เพื่อให้ผู้ชมได้รับสัมผัสความงามที่ปราศจากเปลือกและเข้าถึงพื้นที่ว่างทางนามธรรมของความรู้และปรัชญาในศาสนาพุทธ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4986
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620120030.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.