Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4993
Title: Sculpting Air: The Sculpture of Countless Fluidization Voids
แกะสลักอากาศ: ประติมากรรมแห่งช่องว่างอันลื่นไหลนับไม่ถ้วน
Authors: Ryusuke KIDO
Ryusuke KIDO
Pishnu Supanimit
พิษณุ ศุภนิมิตร
Silpakorn University
Pishnu Supanimit
พิษณุ ศุภนิมิตร
pishnusup@gmail.com
pishnusup@gmail.com
Keywords: แกะสลักอากาศ
ประติมากรรมช่องว่าง
การรื้อสร้าง
วัฒนธรรมข้าว
Sculpting Air
Voids Sculpture
Deconstruction
Rice Culture
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis aims to explore various meanings of found objects in Thai society. By sculpting numerous voids into these objects, I intended to expose the meaning of each object while simultaneously creating new meanings. I began my projects in Thailand with my wife’s “grandmother’s chair.” This large and heavy wooden structure was where she sat and slept most of the time during her last years. More than any ordinary chair, her behaviors created profound memories for the family members. When she passed away, this chair became a burden due to its size and weight. Through my method of sculpting countless voids that allow air to flow around and into its structure, the process deconstructed the chair’s former meaning and redefined it as a work of art that reveals the beauty of the memories associated with this object. My next project involves sculpting voids into plastic chairs. These chairs are among the most versatile pieces of furniture in Thailand, especially in Bangkok, where they are used in temples, schools, homes, and even at motorcycle taxi stands around the capital. Besides being used for sitting while waiting for customers, the owner often uses this chair to reserve a place in public spaces, even when they are not there. When a plastic chair is placed, the meaning of the space shifts from public to private. I sculpt voids into chairs collected from people around Bangkok to deconstruct their actions and the meaning of private-public spaces. My final project is to sculpt countless voids into a rice barn in Chiang Rai province. This architectural form used to be an essential building in every house in Lanna, Thailand's northern region. The way of rice production has changed from traditional to modern methods and mass production, resulting in the loss of meaning for people, and it has become a useless building. This beautiful structure has been repurposed as decoration in hotels or restaurants and has become a sought-after item for antique collections. I acquired one and moved it to an outdoor space in the Mae Fah Luang Art and Cultural Center, Chiang Rai province, then carved countless voids to allow air and light to flow through its structure. By sculpting it and allowing the audience to see it as an art object, the structure gains a new meaning while the former significance of the building and the rice-based culture is rediscovered.
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับความหมายอันหลากหลายของวัตถุในสังคมไทยที่มีความหมายดั้งเดิมอยู่แล้ว กระบวนการแกะสลักอากาศผ่านช่องว่างของข้าพเจ้าพยายามเปิดเผยให้เห็นความหมายแฝงของวัตถุเหล่านั้นและสร้างความหมายใหม่ไปพร้อมๆ กัน การค้นคว้านี้เริ่มต้นตั้งแต่การแกะ “ตั่งคุณยาย” อันเป็นเก้าอี้หรือเตียงขนาดใหญ่ที่คุณยายของภรรยาข้าพเจ้าใช้นั่งและนอนตลอดช่วงสุดท้ายของชีวิต การกระทำของเธอทำให้ตั่งธรรมดาอันเป็นโครงสร้างไม้หนาหนักเต็มไปด้วยความทรงจำสำหรับบุคคลในครอบครัว แต่หลังจากคุณยายจากไปตั่งนี้กลายเป็นภาระขึ้นมา โดยวิธีการแกะสลักช่องว่างลงไปบนโครงสร้างนี้แล้วปล่อยให้อากาศไหลวนรอบและไหลผ่านช่องว่างจำนวนมากทำให้รื้อสร้างความหมายเก่าของตั่งในขณะเดียวกันกับที่สร้างความหมายใหม่ขึ้น ความหมายแฝงในฐานะงานศิลปะเปิดเผยให้เห็นความงามแห่งความทรงจำเกี่ยวกับวัตถุนี้ เก้าอี้พลาสติกสาธารณะเป็นหนึ่งในเก้าอี้ที่มีการใช้งานหลากหลายที่สุดในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพ ใช้กันในสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่วัด โรงเรียน บ้าน ไปจนกระทั่งวินมอเตอร์ไซค์ นอกเหนือจากการนั่ง เจ้าของเก้าอี้มักจะวางเก้าอี้ไว้เพื่อจับจองพื้นที่ในยามที่ตนเองไม่อยู่ทั้ง ๆ ที่บริเวณนั้นอาจจะเป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเท้า เมื่อมีการวางเก้าอี้พลาสติกนี้ลงไป พื้นที่ตรงนั้นจะถูกเปลี่ยนจากพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ส่วนตัว ผมแกะสลักช่องว่างจำนวนมากลงไปบนเก้าอี้ที่เก็บมาจากหลากหลายบริเวณในกรุงเทพเพื่อทำการรื้อสร้างการกระทำและความหมายของเก้าอี้และการเป็นส่วนตัว-สาธารณะ กรณีสุดท้ายคือการแกะสลักหลองข้าวที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญสำหรับทุกครัวเรือนในอดีตของชาวล้านนา ภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันหลองข้าวหมดความหมายลงเนื่องจากโครงสร้างการผลิตข้าวในสังคมล้านนาเปลี่ยนแปลงไป สถาปัตยกรรมที่สวยงามนี้ถูกเปลี่ยนหน้าที่กลายเป็นวัตถุสำหรับการประดับตกแต่งและกลายเป็นของสะสมแบบของโบราณ ผมจัดหาอาคารนี้มาหนึ่งหลังและย้ายมาจัดตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งของอุทยานศิลปวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายแล้วแกะสลักอากาศและช่องว่างลงไปบนพื้นผิวของอาคารปล่อยให้อากาศและแสงไหลผ่านโครงสร้างนี้ โดยการแกะสลักและให้ผู้ชมดูโครงสร้างนี้ในฐานะงานศิลปะ ความหมายใหม่ของอาคารได้เกิดขึ้นในขณะที่เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับข้าวถูกเปิดเผยขึ้นอีกครั้ง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4993
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640130006.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.