Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5013
Title: Optimizing Design Guidelines to Maximize Daylighting and Natural Ventilation in Park-and-Ride Buildings
แนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในอาคารจอดแล้วจร
Authors: Thanwarat SILAWATANAWONGSE
ธัญวรัตม์ ศิลวัฒนาวงศ์
Pimolsiri Prajongsan
พิมลศิริ ประจงสาร
Silpakorn University
Pimolsiri Prajongsan
พิมลศิริ ประจงสาร
PRAJONGSAN_P@SILPAKORN.EDU
PRAJONGSAN_P@SILPAKORN.EDU
Keywords: อาคารจอดแล้วจร
ความปลอดภัยทางการมองเห็น
การใช้แสงธรรมชาติ
การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ
การจำลองอาคารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
Park-and-Ride
Visual Safety
Daylighting
Natural Ventilation
Building Simulation
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The park-and-ride building system is an element that helps promote convenient travel connections with the public system. And it is an incentive for people to change their travel behavior from relying on personal cars to using public transportation. This is the core concept of a sustainable transportation system. The objective of this study is to present guidelines for designing park-and-ride buildings that effectively use natural light and natural ventilation. And can create an indoor environment with visual safety and air quality for users. Through an analysis of the physical characteristics of buildings currently in use in two layouts: flat deck layouts and split-level layouts, there are two sizes: 32 meters wide and 60 meters wide, under the weather conditions of Bangkok. From the results of building efficiency simulation using the programs DIALux evo 10.0 and DesignBuilder v.5.5.2.007, it was found that the building layouts, building width, and the size of the opening are factors that influences the illuminance and air change rate of the building. And case study buildings that can use natural light and natural ventilation to create an indoor environment that is visually safe and has air quality as required by law and standards include a split-level layout within 32 meters and an opening height of 1.40-1.60 meters.
อาคารจอดรถระบบจอดแล้วจรเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้การเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบสาธารณะเป็นไปได้สะดวก และเป็นแรงจูงใจให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากการพึ่งพารถยนต์ส่วนตัวเป็นการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของระบบการคมนาคมที่ยั่งยืน การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบอาคารจอดแล้วจรที่มีการใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีความปลอดภัยทางการมองเห็นและคุณภาพอากาศให้กับผู้ใช้งานผ่านการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของอาคารที่มีใช้ในปัจจุบัน 2 รูปแบบ คือ แบบพื้นเรียบและพื้นเล่นระดับที่มีความกว้าง 2 ขนาด คือ 32 เมตรและ 60 เมตร ภายใต้สภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร จากผลการจำลองประสิทธิภาพอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 10.0 และ DesignBuilder v.5.5.2.007 ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบอาคาร ความกว้างของอาคาร และขนาดของช่องเปิดเป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อค่าความส่องสว่างและอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของอาคาร และอาคารกรณีศึกษาที่สามารถใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีความปลอดภัยทางการมองเห็นและคุณภาพอากาศตามที่กฎหมายและมาตรฐานกำหนดได้แก่ อาคารจอดรถแบบพื้นเล่นระดับที่มีความกว้าง 32 เมตรและมีความสูงช่องเปิด 1.40-1.60 เมตร
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5013
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61054207.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.