Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/501
Title: | กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่่า (Low Carbon Tourism) กรณีศึกษาพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด |
Other Titles: | MANAGEMENT PROCESS FOR LOW CARBON TOURISM : A CASE STUDY OF KOH MAK IN TRAD PROVINCE |
Authors: | อักษรประดิษฐ์, นิคมศม Aksornpradit, Nicomsom |
Keywords: | การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ การจัดการ คาร์บอนไดออกไซด์ ECOTOURISM LOCARBON TOURISM MANAGEMENT CARBON DIOXIDE |
Issue Date: | 1-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) ของพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด 2. เพื่อศึกษาปัจจัย และเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ มาสู่แนวทางปฏิบัติ 3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ บนพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ในการดำเนินการจัดทำนโยบายต้องทำการการศึกษาข้อมูลจากบริบทของพื้นที่ก่อนการจัดทำนโยบาย เพื่อสถานประกอบการ มีการทำการศึกษาถึงความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณา โดยศึกษาจากพฤติกรรม และกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นกิจกรรมจนกระทั่งเสร็จสิ้น โดยในนโยบายจำเป็นต้อง 1) จะต้องไม่ส่งผลกระทบกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชน 2) รักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของพื้นที่ และ3) ต้องมีการจัดการด้านการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ โดยสถานประกอบการที่นำนโยบายการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำมาปรับใช้ส่วนใหญ่กระทำโดยผ่านนำเสนอในรูปแบบของกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังพบว่าในสถานประกอบการส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง และพบว่าในกระบวนการบริหารจัดการนั้นได้มีการดำเนินนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการเกษตรรวมอยู่ด้วย และได้จัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในเกาะ 2. ปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ พบว่า ต้องประกอบด้วย 1) จิตสำนึกที่ดี เกิดจากการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับประชาชนในพื้นที่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการท่องเที่ยว ผ่านกระบวนการการให้ความรู้ โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับอย่างชัดเจน 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน เกิดจากความร่วมมือระหว่าง องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ (อพท.) และความร่วมมือจากรัฐบาลของประเทศเยอรมนี ที่มีการนำองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับมาปรับใช้กับพื้นที่เกาะหมาก 3) ด้านความร่วมมือจากภาคส่วนหลัก ได้แก่ ภาครัฐ สถานประกอบการ และภาคประชาชน โดยมี อพท. ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือไปยังสถานศึกษา รวมถึงองค์กรต่างประเทศ และการประสานความร่วมมือเหล่านี้ถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ 3. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสถานประกอบการที่นำเอาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำมาปรับใช้ในองค์กร แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ความพึงพอใจด้านสถานที่พักแรม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจต่อสถานที่พักแรมของเกาะหมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สถานที่พักแรมมีความสะอาดถูกสุขลักษณะ กิจกรรมต่างๆ ที่สถานที่พักจัดให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลำดับสุดท้ายด้านการจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ 2) ด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจต่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเกาะหมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การมีส่วนร่วมช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การจัดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุดท้ายมีความพร้อมที่จะทำตามหลักการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม This study based on Qualitative Research Methodologies. The objectives of this research were 1) to study low carbon tourism in area of Koh Mak, Trat 2.to study factors and conditions that can be affected to the successful of a concept of low-carbon tourism development. 3. to study a level of satisfaction of the tourists to promote the low-carbon tourism development in Koh Mak, Trat, Thailand. Sample from 400 of tourists were used in this research consisted with both questionnaires and in-depth interviews. Data were analyzed by using statistical grid frequency percentage (Percentage), average ( x ) and standard deviation (Standard Deviation: SD) and content analysis. The results of this research were as follow: 1. In the implementation of policy have to studied from the social context before a new policy been releases. For the establishments must study a tourist’s needs and take it as the main elements to consideration before release a new policy can be done by study all behaviors from the beginning of activities until the completion. The policies should be as following: 1) the development would have no impact on the social context and the way of life of the community, 2) preserve the history of the area, and 3) the need to manage energy efficiency. Some Establishments that bring low carbon tourism as a policy mostly done by presents an environmental friendly activities for customers. It was also found that the establishments have seriously focused on the issue of renewable energy. And found that it’s related to agriculture development too. 2. Factors that affect to the successful of the concept of low-carbon tourism development were 1) a positive attitude. All of stakeholders must be educated by pointing out benefit of the campaign clearly 2) the cooperation between Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) and cooperation from the government of Germany 3) Collaboration from Thai’s government sector, enterprises and public sector in the area by collaboratively with a school, foreign organizations all are the key to success in low-carbon tourism management. 3. Satisfaction of tourists in low-carbon tourism across the organization was divided into two areas: 1) the satisfaction of the facilities that were at a high level. When considering the satisfaction for accommodation on the island. Sort descending found that facilities were clean and hygienic and also provide environmental friendly activities during their stay and the last was the document advocates about the low-carbon tourism, 2) a tourist-friendly environment in overall was in a high level. When considering the satisfaction of a tourist-friendly environment of the island. Sort by descending the participation to reduces carbon dioxide emissions. An Environmental friendly tourism management and finally, tourists are ready to follow the principles of environmentally friendly tourism. |
Description: | 56260313 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- นิคมศม อักษรประดิษฐ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/501 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56260313 นิคมศม อักษรประดิษฐ์.pdf | 56260313 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- นิคมศม อักษรประดิษฐ์ | 8.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.